ถอดรหัสภัยพิบัติ

ถอดรหัสภัยพิบัติ พลิกวิกฤติเป็นคำเตือน  17 ธค. 2555

จากเฟสบุ๊คคุณ adithep.wetwirounwong
มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดงานเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดภัยพิบัติตามกระแสสังคมที่ตื่นกลัว วันสิ้นโลก ในวันที่ 21ธันวาคมนี้


โดย ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรไฟฟ้า องค์การนาซ่า ระบุว่าเหตุการณ์โลกสิ้นสลายจะยังไม่เกิดขึ้น แต่ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จะมีความรุนแรงมาก จากการได้รับผลกระทบคลื่นรังสีดวงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบัน ชั้นบรรยากาศที่เป็นเกราะคุ้มกันโลก ลอยต่ำสุดในรอบ 50 ปี

เวทีเสวนา ถอดรหัสภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นคำเตือน มีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญขึ้นบรรยายให้ความรู้ที่เท่าทันการเตรียมรับมือภัยพิบัติ พร้อมทั้งแจงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ถึงปัจจัยการเกิดภัยพิบัติในวันสิ้นโลกตามที่เป็นกระแสสังคมในขณะนี้ โดยดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรไฟฟ้า นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำงานใน องค์การนาซา กล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้โลกสลายมี 2ปัจจัย คือ ปัจจัยภายนอกจากปรากฎการณ์พายุสุริยะ และปัจจัยภายในโลกจากการทำลายชั้นบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขี้นในวันที่ 21ธันวาคม นี้ เครื่องมือและหน่วยงานวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติชนิดใด ซึ่งถ้าหากจะเกิดจริง โดยหลักจะมีลางบอกเหตุ คือเกิดภัยธรรมชาติหลายแห่งที่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นเหตุการณ์โลกสิ้นสลายจะยังไม่เกิดขึ้น แต่คาดว่าภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะมีความรุนแรงขึ้นเพราะการได้รับผลกระทบจากคลื่นรังสีดวงอาทิตย์จะทำให้สนามแม่เหล็กแปรปรวนได้ง่าย เพราะปัจจุบัน ชั้นบรรยากาศที่เป็นเกราะคุ้มกันโลก ลอยต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งเป็นช่วงสนามแม่เหล็กโลกอ่อนแอที่สุด




ดังนั้นควรจะหมั่นเฝ้าสังเกตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการกระทบคลื่นรังสีพายุสุริยะ ระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม ซึ่งในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ ทางนาซาจะสามารถคำนวนได้ว่า ทิศทางคลื่นรังสีของพายุสุริยะจะมากระทบต่อโลกในทิศทางใด จะสามารถคาดการณ์ถึงประเภทและความรุนแรงของภัยพิบัติได้ โดยหากรังสีพายุสุริยะกระทบโลกโดยตรง จะเกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศ แต่ถ้าหากเฉียดกับโลกบางส่วน จะเกิดภูเขาไฟระเบิด และแผ่นดินไหว ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนรู้จักสังเกตุและคาดคะเนภัยธรรมชาติให้เป็น ไม่ใช่ตื่นตระหนก จนลืมวิธีหรือเรียนรู้ที่จะอยู่กับภัยธรรมชาติ

ด้านนายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่าวันที่21 ธันวาคม นี้ว่าขณะนี้ยังไม่มีรายงานใดที่บ่งบอกว่าเป็นภัยพิบัติก่อให้เกิดเหตุสิ้นโลก แต่หากเกิดแผ่นดินไหว ก็จะเป็นภัยพิบัติไม่สามารถพยากรณ์ได้ ทั้งนี้ศักยภาพการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา สามารถพยากรณ์ได้เพียงระดับจังหวัดเท่านั้น โดยการพยากรณ์ใน 4ชั่วโมงความถูกต้องประมาณร้อยละ79 แต่ความต้องการของประชาชน ต้องการให้พยากรณ์ได้ในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หรือในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งทางกรมอุตุฯต้องมีการปรับปรุงอุปกรณ์ให้ดี เพื่อให้มีความแม่นยำกว่าเดิม รัฐบาลจึงควรจะสนับสนุนงบประมาณในการติดตั้งเครือข่ายตรวจวัดภาพอากาศให้ครอบคลุม และต้องให้ความสำคัญกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลต้นน้ำของการเกิดภัยพิบัติต่างๆ

ทั้งนี้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ แสดงความเห็นสอดคล้องกันว่า ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้จะรุนแรงขึ้น แต่ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้โลกสิ้นสลายตามกระแสข่าวลือ
http://news.voicetv.co.th/thailand/58533.html

ไม่มีความคิดเห็น: