เรื่องยามตกฟาก
ยามตกฟากก็คือเวลาเกิด สมัยก่อนไม่ได้มีนาฬิกาดูเป๊ะๆเหมือนสมัยนี้ คนโบราณที่เป็นผู้รู้หรือปราชญ์พื้นบานอาศัยดูหรือสังเกตุยามตกฟาก คือกลางวันมี ๘ ยาม กลางคืนมี ๘ ยาม ดูครับ
แปดยามตกฟาก คำกลอน
แปดยามคำกลอน นี้เอามาจากหนังสือดูหมอที่พิมม์แจกตามงานศพแถวบ้านผม (ต.วัดสน อ. ระโนด จ.สงขลา ) นานแล้ว ลองค้นหาตามเวปไซด์แล้วไม่เห็นมี เลยต้องลงทุนพิมม์เองเพราะไม่รู้จะจ้างใครเพราะจดมาคงไม่มีใครอ่านออก เผื่อเพื่อนๆมาอ่านพบเข้าอาจถูกใจก็อปปี้เก็บไว้จะได้เหลือไว้ให้เด็กรุ่นหลังได้อ่านเล่นต่อไป
ยามวันจันทร์ | ยามวันอังคาร | ยามวันพุธ |
ยามวัพฤหัสฯ | ยามวันศุกร | ยามวันเสาร์ |
วันอาทิตย์ กลางวัน
ยาม ๑ ( ๐๖.๐๐ - ๐๗.๓๐ น.)
วันอาทิตย์สุริยะเวลาเช้า เมื่อลิงเฒ่าเที่ยวหาที่อาศัย มาพบลังนกกระจาบเป็นลาภชัย เข้าอาศัยพักกายสบายบาน ถ้าผู้ใดได้กำเนิดยามนี้ ไม่มีที่พึ่งพักเป็นหลักฐาน ต้องพึ่งเพื่อนเช้า เย็นไปเป็นนาน ที่หลักฐานต่ำต้อยน้อยเต็มที
ยาม ๒ ( ๐๗.๓๐ - ๐๙.๐๐ น.)
ยามสุกระวานรพูดอ่อนหวาน นกประธานที่พักเป็นศักดิ์ศรี แม้นหญิงชายเกิดกายในยามนี้ จะมีที่พึ่งพักหลักสำคัญ ทั้งพูดจาสิ่งใดก็ไม่ผิด พวกญาติมิตรเชื่อจริงทุกสิ่งสรรพ์ มีโวหารชาญฉลาดสามารถครัน ผู้อื่นนั้นตายใจไปทุกที
ยาม ๓ ( ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น.)
ยามพุธทะวานรร้อนใจนัก คิดจะลักกินไข่ของงปักษี ใครตกฟากจากครรภ์มายามนี้ น้ำจิตมีทุตจริตด้วยมิตรภัย
ยาม ๔ ( ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ )
จันเทานั้นตรงกันตะวันเที่ยง วานรเลี่ยงลอบลักฟักพะไข่ ใครตกฟากจากครรภ์มารดาไทยยามนี้ไซร้มีจิตคิดเป็นพาล เที่ยวฉกลักของเขาทุกเช้าค่ำ ไม่คิดทำสิ่งใดในสถาน
ยาม ๕ ( ๑๒.๐๐ - ๑๓.๓๐ )
ยามเสารีสกุณีกับลิงพาล บังเกิดการเถียงเถาะทะเลาะกัน ใครตกฟากจากยามนี้ มักมีวิวาทกับวงศ์ญาติสนิท ทั้งเพื่อนมิตรก็มักจะผิดผัน
ยาม ๖ ( ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ )
ในยามครูมุนีเธอดีครัน ปรึกษากันลิงกับนกให้ตกลง ใครเกิดยามนี้ได้ที่ปราชญ์ ทั้งวงศ์ญาตินิยมสมประสงค์
ยาม ๗ ( ๑๕.๐๐ - ๑๖.๓๐ )
ยามภุมมะพระโยคี ฤทธิรงค์ มัดลิงดงศอกชิดติดเถาวัลย์ ใครจากท้องยามนี้มักมีทุกข์ บังเกิดยุคยากวิโยคแสนโศกศัลย์ ติดโซ่ตรวจขื่อคาสารพัน ต้องแก้กันหลายคราระอาออน
ยาม ๘ ( ๑๖.๓๐ -๑๘.๐๐ )
สุริยะสายันณ์ตะวันค่ำ อาทิตย์ต่ำตกดับลับสิงขร พระฤาษีมีเมตตาปล่อยวานร ให้พ้นตอนโทษทันอันตราย ใครเกิดมายามค่ำย่ำอาทิตย์ ไม่มีทุกข์ยุคยากลำบากกาย จบอธิบายวันอาทิตย์ประสิทธิ์มี
วันอาทิตย์ กลางคืน
ยาม ๑ (๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ )
วันอาทิตย์ระวีจรตระการ เมื่อสุริยฉานตกลงในคงคา ได้เมื่อพระมโหสถผู้เปรื่องปราช มีฉลาดน้อมคำนับรับอาสา ท้าววิเทธิปบดินทร์ปิ่นประชา ขุดพสุธาเป็นอุโมงค์หวั่งส่งคน จะไปตีพาราท้าวจรหนี เกิดยามนี้ดีนักเป็นมรรคผล มิสติปัญญายิ่งกว่าคน ได้พึ่งตนท่านผู้ใหญ่ไปปลายมือ ปรารถนาสิ่งใดไม่ค่อยขัด มีสมบัติยิ่งนักคนนับถือ
ยาม ๒ (๑๙. ๓๐ - ๒๑.๐๐ )
ยามชีโวมโหสถปรากฏลือ ยกพลถืออาวุธยุทธพัน ไปถึงนครจรหนีดีประเสริฐ ผู้ใดเกิด....ยามนี้ดีขยัน อาศัยเจ้าเข้าณรงค์คงประพัน จะลือลั่นโลกาทั่วธานี
ยาม ๓ (๒๑.๐๐ - ๒๒. ๓๐ )
ยามศศิเมื่อพหลพลทหาร ตามภูบาลเจ้าปราชญ์สะอาดศรี ใครตกฟากจากท้องต้องยามนี้ ทุกทวีเวทนาไปช้านาน ต้องจากถิ่นฐานที่ไม่มีสุข ต้องเกิดทุกข์ยากแค้นแสนสงสาร
ยาม ๔ (๒๒.๓๐ - ๒๔.๐๐ )
ยามศุโกรท้าววิเทคเนการ ยกทหารรีบโยธารีบคลาไคล ไปตั้งทัพพลับพลาในป่ากว้าง คิดจะล้างเข้าตีบุรีใหญ่ ใครจากท้องยามศุกรสนุกใจ จะไปไหนเปลี่ยวกายหาม่ายเลย พลทหารล้อมกายทั้งซ้ายขวา เป็นหัวหน้าทุกอย่างไม่วางเฉย
ยาม ๕ ( ๐๐.๐๐ - ๐๑.๓๐ )
ยามภุมมะมโหสถไม่ลดเลย เสด็จเฉยถึงนครช้อนพวกพล ใครเกิดทันยามอังคารสำราญจิต จะสมคิดปรารถนาหาลาภผล
ยาม ๖ ( ๐๑.๓๐ - ๐๓.๐๐)
ถึงยามเสาร์สองทัพขับไล่พล เข้าตีปล้นนครรบรอนราน จับได้ท้าวจรหนีจอมกษัตริย์ มาผูกมัดกายาไว้หน้าฉาน ใครจากครรภ์ยามนี้มิเป็นการ มักต้องพาลราชภัยหลายเวลา ต้องหมดเบี้ยเสียของเงินทองนาค ทำไว้มากก็ไม่ได้ ร้ายนักหนา
ยาม ๗ ( ๐๓.๐๐ - ๐๔. ๓๐ )
ยามพุทโธจรหนีขัตติยา เสียพาราสิ้นยศถดถอยหลัง ในยามนี้ถ้ามีใครตกฟาก ต้องตกยากยับยุ่ยเกือบผุยผง มีโรคร้ายเบียนกายตั้งไม่ตรง เก็บทรัพย์ส่งให้เขาอยู่เนาว์นาน
ยาม ๘ ( ๐๔.๓๐ - ๐๖.๐๐ )
ยามรวิรุ่งแจ้งแสงส่วาง ต้องอัปปางเสียสินทั่วถิ่นฐาน จะหนีภูวนัยบรรลัยลาน เพราะเสียการเสียรู้ผู้ปรีชา ใครเกิดการยามรวีนี้ต่ำต้อย อายุน้อยเร็ววันสั้นนักหนา หากอยู่ไปในมนุษย์สุดปัญญา แต่เคหาพักกายเกือบไมมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น