ปรัชญาเทวอสูร

บทที่ ๓ เทวอสูรในแง่ปรัชญา ( มหาปลี )

โลกธาตุ พระเจ้าสร้าง หรือ สภาวธรรม
นักปราชญ์โบราณ อธิบายโลก หรือ โลกธาตุ หรือเครื่องจักรกลธรรมชาติ ไว้ในทุกมิติ ตามแต่เรื่องราวสมัยนั้นๆให้เข้าใจกลไกอันซับซ้อน   และชี้แนวทางทีจะออกจากเครื่องพันธนาการร้อยรัด  ที่คติทางโลกถือว่าน่าเพลิดเพลินทั้งปวงเหล่านั้นไว้โดยละเอียดพิสดาร  จากที่เคยได้อ่านมาบ้างเห็นมีอยู่หลายแนวคล้ายๆกัน  เรื่องแนวธรรมแนวปรัชญาประเทศไทยมักได้รับอิทธพลแนวคิด  ความเชื่อจากอินเดียโบราณ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ พุทธ หรือคำภีร์อื่นๆ กล่าวไว้คล้ายกัน แต่มีบางท่านอธิบายให้ผมฟังว่า  เรื่องราวทางฝั่งอินเดียเกิดมาหลังดินแดนสุวรรณภูมิ   ดินแดนที่เคยมีพระพุทธเจ้าสามองค์อุบัติขึ้น  ก่อนจะมีพระสมณโคดม เป็นองค์ที่ ๔  แต่ดินแดนล่มสลายลงไปก่อน  อารยธรรมสมัยต่อมาจึงไปเกิดที่ฝั่งชพูทวีป  แต่กัปป์นี้เรียกว่าภัทรกัปป์ หรือกัปป์ที่ ๑๐๖ ที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์


จักรวาล ๑ จักรวาล และทวีปที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์
ณ ที่นี้ จะตัดเอาเฉพาะเรื่องโลกธาตุตอนเทวดากับอสูร       ท่านบูรพาจารย์ได้รจนาพระคำภีร์ความว่าธรรมชาติหรือโลกที่พระเจ้าสร้างขึ้น    แยกเป็นกลุ่มของจักรวาลหลายๆจักรวาล เมื่อรวมกันเป็นโลกธาตุแล้วมีหลายขนาด การเรียกชื่อของโลกธาตุเป็นไปตามจำนวนของจักรวาล โดยแบ่งเป็นหลักคร่าวๆ คือ
๑.  โลกธาตุ อย่างเล็ก ประกอบด้วยพันจักรวาล


๒. อย่างกลาง  ประกอบด้วยล้านจักรวาล


๓.อย่างใหญ่ ประกอบด้วยแสนโกฏิจักรวาล


ซึ่งภายในแต่ละจักรวาลเหล่านี้ได้มีสรรพชีวิตต่างๆ   หลายรูปแบบเกิดและอาศัยอยู่   โดยเรียกตามภาษาในสมัยโบราณ เช่น เปรต เดรัจฉาน มนุษย์ คนธรรม์ รากษส นาค ครุฑ  เทวดา พรหม ฯ  ที่ว่ายวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร   แสดงเรื่องราว ตามกิเลสตัณหา คือ โลภ โกรธ หลงมิรู้จบสิ้นจนกว่าจะบรรลุถึงโมกษะตามคติแบบพราหมณ์   หรือถึงนิพพานตามคติแบบพุทธ) หรือจะได้พบกับพระเจ้าตามคติคริสตน์ อันแนวคิดและความเข้าใจต่อองค์ความรู้    ต่อความจริงทั้งหลายเหล่านี้     ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมในแต่ละยุคสมัย จะเปลี่ยนแปลง    ไปด้วยเหตุปัจจัยอันใดในทางธรรมชาติอันบริสุทธิ์       หรือธรรมชาติประยุกต์อันประณีต หมู่นักปราชญ์ที่แท้จริงง    ย่อมมีภูมิปัญญาพอที่ทะลุกำแพงกาลเวลา กำแพงธรรมใดๆได้โดยวิสัยปกติของปราชญ์ฉันนั้นแล

โลภ โกรธ หลง  มาจากไหน ใครสร้าง
พุทธศาสนา  ที่ได้ฟังมา ท่านว่าเกิดมาแต่กรรม  มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมจากการกระทำต่อกัน ฯ ตั้งแต่มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมผูกเวรต่อกันมา ข้ามภพข้ามชาติ  เกิดเป็นเรื่องราวต่อเนื่องสะสมอยู่ในรูปนาม  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ย่อโลกให้เราศึกษาให้เข้าใจกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก ให้ถ่องแท้  เพราะสิ่งนี้เป็นโลกธาตุโดยย่อจากจักรวาลขนาดใหญ่แสนโกฎจักรวาล มารวมอยูที่นี่ทั้งหมด

ศาสนาอื่น
ไม่ขอกล่าวถึง


โหราศาสตร์
  ว่า โลภ โกรธ หลง เป็นมาแต่พื้นดวงกำเนิด  คนแต่ละคนที่เกิดมาย่อมถูกกำหนดมาแล้วแต่ชั้นใน  จากดาวพระเคราะห์ที่พระศิวชุบขึ้นมาจาก ดวงวิญญานต่างๆ ทั้ง ๘      โหราศาสตร์เองก็มีหลายแนว  ทฤษฎีอาจแตกต่างกันออกไป ของไทยเดิมๆ       แยกจักรวาลเป็น จุลจักรวาล   จักรวาล และมหาจักรวาล ทั้งดวงดาวและจักรราศี มี ๑๒ ภพ ๑๒ เรือนชะตา มี ๒ ด้านคู่กันเสมอตั้งเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลมไฟ ตัวผู้กับตัวเมีย

ขับเข้าไปอยู่ในดวงให้เป็นเทวนพเคราะห์ทั้ง ๘ มีจริต มีโมหะมีคุณลักษณะที่ต่างกันไป    เพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งทั้งด้านมืดและด้านสว่าง  เป็นชั้นๆออกมา  ขับเข้าไปอยู่ในรูปนาม ธาตุน้ำทำให้คิดให้มีอารมย์ ธาตุลมทำให้ตึงให้หย่อน ให้แรง ธาตุไฟทำให้เกิด ให้อยู่ ให้ดับ เกิดเป็นธาตุดินรูปนามที่จับต้องได้ ด้วยเบญจขันธ์วิญญาน เกิดเป็นเรื่องราวต่างๆมากมาย   มืดกับสว่าง ดีกับชั่ว สุนทรีย์กับถ่อยเถื่อน ได้กับเสีย เจริญกับเสื่อม ฯลฯ ปรัชญาจีนเรียก หยินหยาง ซึ่งก็คล้ายๆกันอาจต่างกันบ้างเรื่องการนับธาตุ


เทวดากับอสูร
แง่มุมโหราศาสตร์    
โหราศาสตร์ไม่ว่าระบบไหน  มีพระราชาอยู่ ๒ องค์  คือเทพเจ้าแห่งความสว่าง    มีพระอาทิตย์เป็นเจ้า กับเทพเจ้าแห่งความมืด มีพระราหูเป็นเจ้า  พระราหูเองก็มีตั้ง ๘ ภาค       เรียกอัฐฐคชนามเป็นเจ้าแห่งโลก  เทวดาซึ่งแปลว่าผู้มีแสงสว่างย่อมเป็นบริวารของพระอาทิตย์ หรือสุริยเทพฯ    พระสุริยเทพฯเป็นผู้เติมพลังความสว่างความร้อนความกล้าฯให้     ส่วนฝ่ายอสูรย่อมเป็นบริวารหรือลูกน้องของพระราหูหรืออสุรินทร์เทพฯ      มีความมืดเป็นเจ้าเรือนคอยเติมความหลงใหล ใครรัก ใคร่เอา ใคร่อยากได้   อันความมืดความสว่างนั้นก็คิดได้ถึง ๙ ชั้น    ความหมายชั้นลึกแสดงถึงอารมย์ทางจิต ต่อออกมาถึงระดับพลังงาน แสง สี เสียง วัตถุ บ้านเรือนเมืองและประเทศ     ฉะนั้นเรื่องชั่วดีในระดับชั้นมนุษย์    จึงเป็นเรื่องปกติทางโลก  เป็นพลังงานชั้นนอก ชั้นที่ 7 หรือที่ 8  เพราะโลกต้องเป็นเช่นนี้  มีสองสิ่งนี้คู่กัน หลายหลากสีสรรเป็นเช่นนี้นิรันด์

พระเคราะห์ในดวงชะตา   พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสษบดี พระศุกร์ พระเสาร์ ถือเป็นเทวะนพเคราะห์  ต้องมอง ๙ ชั้น  หากมีคุณสมบัติตรงข้ามไปในด้านร้ายก็ถือเป็นนพเคราะห์ที่ถูกฝ่าย อสูรครอบงำ หรืออบรม  ให้เป็นไปทางไม่ดี ในทางคุณสมบัติเดิม แต่อาจเป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่ง  เช่นพระอาทิตย์มองแบบชั้นเดียวหมายถึงเกียรติ์ยศหากถูกราหูครอบงำให้เสีย   ก็กลายเป็นคนบ้าเกียรติ์หลงเกียรติ์ โกงกิน หลอก ลวง ต้มตุนให้ได้มาซึ่งเกียรติ์นั้นๆ เป็นต้น

มองตามหลักธรรมเชิงรูปนามทั่วไป 
เทวดา   อันบุคคลผู้ล่วงลับจากความเป็นมนุษย์   เมื่อได้บำเพ็ญกุศลพร้อมมีหิริโอตตัปปะอย่างเต็มเปี่ยม   ก็จะมีกำลังพอสามารถก้าวข้ามภูเขาสัตตบรรพต และสีทันดรมหาสมุทรได้เข้าไปอยู่ในดินแดนชั้นในอันเป็นดินแดนเทวดา  ได้ตามลำดับชั้น    อาจมาฝึกต่อที่ภพภูมิเทวดาที่นี่ หรือบางท่านฝึกสำเร็จมาแต่เมืองมนุษย์มาถึงนี่ก็อาจเลยไปถึงชั้นดุสิต หรือสูงกว่า

อสูร   ในทำนองเดียวกัน   อันบุคคลผู้ล่วงลับจากความเป็นมนุษย์ได้สร้างอกุศลธรรม ด้วยพลกำลังแก่กล้า  พร้อมทั้งไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่เกรงกลัว ไม่ละอายต่อบาปไม่ฟังคำติเตือนท้วงติงจากผู้หลักผู้ใหญ่   ผู้ที่ถึงพร้อมไปด้วยคุณธรรม         อำนาจของบาปอกุศลก็จะนำพาให้จมลงสีทันดรมหาสมุทร          ถูกกระแสน้ำลึกแห่งอารมย์ร้าย  โทสะ โลภ หลง ชักพาให้เข้ามาถึงชั้นในของภูเขาพระสุเมรเช่นกัน แต่ต้องตกไปอยู่บนภูเขาสามยอดที่ชื่อตรีกูฏมหาบรรพตได้เป็นพวกเทวอสูรที่มีฤทธานุภาพ  แต่เป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับคุณธรรมแบบเทวดา


รูปวาดสมมุติที่อยู่ของเทวดาและอสูร
ย้อนกลับไปตอนเริ่มต้นของสวรรค์   แรกเริ่มก็มีเทวดาอาศัยอยู่ก่อนแล้วที่ยอดเขาพระสุเมรุ   ต่อมาก็มีเทวดาจุติมาใหม่   ก่อนที่จะมาจุติบนสวรรค์ได้นั้นท่านบูรพพาจารย์ว่ามาจากการที่มฆะมาณพ  แลบริวาร   ได้เป็น ผู้บำเพ็ญคุณธรรมความดีงามที่เรียกว่า วัตตบท ๗ ประการ จึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ และหาอุบายไล่เทวดาเก่าออกไป แล้วจึงได้ชื่อใหม่ตั้งแต่บัดนั้น มาถึงตอนนี้ เราคิดแบบธรรมดาทั่วไปแสดงว่าเทวดาที่มาใหม่  ชั่วหรือนิสสัยไม่ดีแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักปราชญ์คงหาทางตั้งเรื่องเพื่อให้เกิดอารมย์ ๒ ด้านขึ้นมามากกว่า
โครงสร้างโลกธาตุที่อยู่ของเทวดาและมนุษย์ในแง่มุมปปรัชญาโบราณ 

ขยายความเทวดากับอสูร อีกรอบ
กำเนิดฝ่ายอสูร
เทวดาเก่าที่ถูกขับออกไป เพราะถูกเทวดาที่มาใหม่จับโยนลงมาจากสวรรค์      โดยการหลอกให้ดื่มจนเมามายขาดสติ  แต่ด้วยบุญบารมีเก่าที่เคยสร้างไว้ในอดีต  จึงได้มี วิมานและนครที่อยู่อาศัยที่ได้บังเกิดขึ้นที่ยอดเขาตรีกูฏมหาบรรพต    และก็ได้มีอารมย์แค้น โกรธ อาฆาตุ พยาบาท เป็นเจ้าเรือน หยุดพัตนาจิตให้เจริญยิ่งขึ้น คงหมกมุ่นอยู่กับไฟโทสะ โมหะ และหาทางทวงคืนโดยการยกทัพขึ้นไปทำสงครามอยู่เป็นเนืองนิจ ต่อมาจึงเรียกว่าอสูร คือถือเอาตามอารมย์อันไม่สุนทรีย์  อันไม่กล้านั้น(ไม่กล้าให้ทาน ให้อภัย ให้ ฯลฯ คิดแต่จะรับ ) และก็ไม่ได้เจริญสติ ภาวนา พัตนาจิตใจ ยังติดอยู่ในวังวนแห่งความแค้นซึ่งเป็นเรื่องต่ำๆ ออกไม่ได้   มีจอมอสูรเป็นหัวหน้าชื่อท้าวท้าวสัมพรอสูร ซึ่งตอนหลังเรียกว่าท้าวเวปจิตติ เป้นจอมอสูรผู้มีจิตหวาดหวั่นอันมีเหตุจากไปรื้อศาลาและเครื่องบริขารพระฤาษีผู้ทรงฌาน แล้วถูกพระฤาษีว่ากล่าวหรือแช่งด้วยก็ไม่รู้

กำเนิดฝ่ายเทวดา
ส่วนทางฝ่ายท้าวสักกะ หรือพระอินทร์นั้นจะเห็นว่าเป็นจอมเทพฯอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ ของสวรรค์ทั้งหมดที่มีอยู่ ๗ ชั้น คือจะอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ    แต่อสูรจะกรีฑาทัพขึ้นไปตีแค่ ชั้นดาวดึงส์ สูงกว่านั้นอสูรขึ้นไปไม่ถึง  แม้นว่าแต่เรื่มเดิมที เทวดาจะมีนิสสัยไม่ดี ที่ไปแย่งนครของเทวดาที่อยู่มาก่อน แต่ภายหลังจากนั้นเทวดาใหม่ก็ได้เจริญสติ เจริญกุศลธรรม ให้สูงๆขึ้น จนมีระดับเทวาดาชั้นสวรรค์ถึง ๖ ชั้นเทวดาเสวยสุขอยู่ในสุขารมย์ จนกว่าจะหมดอายุขัยทีได้จากกำลังุบุญกุศลที่ได้สร้างมา

เทวดาบนชั้นดาวดึงส์จะมีอารมย์ต่างจากอสูรคือ เทวดาชั้นนี้  จะมีความสุนทรีย์ ในดนตรี ระบำรำฟ้อน และเครื่องประโลมอารมย์กามคุณทั้ง ๕ สูงสุดกว่าเทวดาชั้นอื่น แต่เหล่าเทวดาทั้งหลายชอบนิยมฟังเทศฟังธรรม   ทั้งที่พระอินทร์ทรงเทศน์เอง หรือมีพระพุทธมาเทศนาโดยเฉพาะในวันพระนี่ คล้ายๆกับมนุษย์หรือผู้คนบางพวกในโลกมนุษย์สมัยปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะประเทศไทยหาดูชมได้ไม่ยาก  

โดยปกติเทวดาจะมีเทวธรรม คือ ธรรมะประจำใจของเทวดา ๒ ประการคือ 

มีหิริ = ความละอายต่อบาปอกุศลทุกชนิด แม้ความคิดที่ไม่ดี ก็ไม่กล้าคิด และ
มีโอตตัปปะ = มีความเกรงกลัวต่อบาป  กลัวต่อผลของบาปอกุศล   ไม่กล้าที่จะทำบาปอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย  

เทวดาอีกอย่างตามคำศัพท์คือ ผู้กล้า ภาษาบาลีใช้คำว่า วีร (วี-ระ), สุร (สุ-ระ) หรือ สูร (สู-ระ), หรือ สุรา (สุ-รา) ที่หมายถึงผู้กล้า  ผู้มีแสงสว่าง มีบางท่านนำไปแปลว่า สุระ หรือสุรา หมายเหล้าๆก็คือเทวดา เพราะพอดื่มได้ที่แล้วจะกล้า  อสุรา คือไม่มีเหล้า  แต่สุรา หรือสุระ แปลว่าเหล้า แปลว่ากล้า ดื่มแล้วเมาทำให้กล้า  


ภาพโครงสร้างโดยรวมของโลกธาตุในอดีต สงครามมีสูงสุดแค่ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น
สูงกว่านั้นไม่มี บุคคลผู้ใดที่ต้องการไปให้พ้นจากสงครามก็พึงฝึกตนให้สูงๆขึ้นเลยช้นนี้

                                               
โครงสร้างโลกธาตุจากปรัชญาโบราณ
ภาพจาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiainVD7jcdh-dE79IPKzgvE6w3yoQ6q8OWbaz3_xibkIkzK9MquH0V19qRwWpQ5HvV5oxTvGkcS2rOHzlVe9kusg30Cn4frkSQRuuHxJDW9tWNrXjn3iZ5xDAYDUeMc1aTqaCyJvKazqW2/w700-h525-no/11283-1.jpg
ภาพข้างบน  เป็นภาพจากปรัชญาโลกธาตุโบราณ ผมเองก็ไม่รู้ว่าแรกเริ่มแนวคิดนี้เริ่มมาเมื่อสมัยใด  เป็นแนวคิดของพุทธหรือว่ามาจากพราหมรณ์ ยังไม่แน่ชัด  ต้องมองตามภูมิรู้ครับ     ผมมองในคติโลกปัจจุบันว่าเป็นการอธิบายโครงสร้างทางจิตวิญญาน      บูรพาจารย์ท่านซ่อนแง่คิดต่างๆอะไรระดับไหนก็แล้วแต่ปัญญาจะไปถึงผมเขียนเท่าที่ผมรู้    โลกสมัยก่อนกับโลกสมัยนี้   ความหมายอาจต่างกัน ต้องมีพื้นฐานเรื่องธาตุ  เรื่องพื้นฐานทางจิตสมัยก่่อนด้วย 

                                                                                        สวัสดีครับ
                                                                                   มหาปลี จักรวาล


                                                     บทที่ ๔ สร้างกองทัพเทวดา (หยดน้ำเทวา) 

ไม่มีความคิดเห็น: