เทวอสูรสงคราม

เทวอสูรสงคราม ๒

พินิจฯ  ๑

จะเห็นว่าแรกเริ่มตำนาน    เทวดาที่มาใหม่นั้นผิดชัดๆ ผิดแบบไม่น่าให้อภัยคือเลวมาก   เจ้าของบ้านอุตสาห์เลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดีแล้วยังเนรคุณ ถีบเจ้าของบ้านจนตกเรือน แล้วยึดบ้านเฉยเลยเป็นใครๆก็แค้น แค้นที่ต้องชำระ

แต่นี่เป็นเพียงการผูกเรื่องของนักปราชญ์    ว่าความแค้น    ความพยาบาทเกิดขึ้นได้เพราะเหตุนี้ เรื่องหนึงแหละ   และให้อารมย์นี้เป็นอารมย์ร้าย เรียกว่าอสูร  อารมย์โกรธ แค้น พยาบาท

เทวดานั้นก็รู้ว่าผิด แต่ก็ได้ฝึกตนเองต่อ ไม่ให้โกรธไม่ให้แค้น    มีแต่จิตเมตตาฯ สูงๆขึ้นไปๆ จนถึงชั้นพรหมเบื้องบน  นี่คืออารมย์ดีๆอีกด้านนึงที่ตรงข้าม 

ส่วนเรื่องรูปเรื่องภพ   รูปนามจริงๆนั้นเป็นยังไงก็ให้ท่านผู้ฝึกถึงฌานได้แล้วเล่าดีกว่า      ตรงนี้แค่คิดแค่บอกให้รู้ว่าเหตุมันเป็นเช่นนี้ จึงได้มีเป็นเทวดา ๒ พวกคือ สุระกับอสุระ




ส่วนที่ท่านอื่นๆเขียนไว้ในอดีต     ฝั่งตะวันตสรุปจากเรื่องเทวอสูรสงครามในบทที่ ๑   แนวคิดเรื่องเทวาสุรสงคราม จากอดีตตำนาน     เค้าโครงเรื่องจะมีรากฐานที่มาจากการต่อสู้กันระหว่างชนพื้นเมือง (ทราวิท / อสูร) กับพวกอารยันที่อพยพเข้ามาใหม่   (เนวาสิกเทวบุตร กับมฆะมาณพจุติ)  คือพวกพระพระอินทร์ เดิมทีน่าจะเป็นวีรบุรุษนักรบของชาวอารยัน   ต่อมาได้รับการยกย่องนับถือจนกลายเป็นเทพเจ้าไปในที่สุด

ส่วนพวกอสูรน่าจะเป็นตัวแทนของชนพื้นเมือง ที่อาศัยอยู่ในถิ่นของตนมาก่อน และเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามแล้วถูกเหยียดหยามให้เป็นพวกที่ไม่กล้าหรือขี้ขลาด (อสูร แปลว่าผู้ไม่กล้า) หรือเทพเจ้าฝ่ายชั่ว เป็นไปได้ว่า เมื่อเริ่มเรื่องการสู้รบกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์แล้ว ก็ได้รับการเล่าขานเป็นตำนานจนมีการปรุงแต่งให้กลายเป็นการรบกันระหว่างเทพฝ่ายดีกับเทพฝ่ายชั่ว  ดีชั่วก็แล้วแต่ใครอยู่ข้างไหน ข้างนั้นก็เป็นฝ่ายดี ฝ่ายตรงข้ามก็เป็นฝ่ายชั่ว 

* เรื่องนี้คนเขียนน่าจะหรือต้องเป็นคนฝั่งอารยัน  เพราะว่าตัวเองต้องเป็นฝ่ายดีฝ่ายถูก  อสูรนั้นไม่ดีจึงต้องเป็นฝั่งตรงข้าม

พินิจ ฯ ๒
แนวคิดความเชื่อเรื่องสงครามระหว่างเทพ กับอสูร ในสมัยก่อนพุทธกาล หากสืบย้อนกลับไป นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พวกอารยันและอิหร่านเป็นพวกเดียวกันและอพยพมาพร้อมกัน โดยที่พวกหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย อีกพวกหนึ่งแยกไปทางอิหร่าน จะเห็นได้จากภาษาของทั้งสองพวกซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก เช่นคำว่า “อารยะ” หรือ “อารยัน” ที่พวกตั้งถิ่นฐานในอินเดียใช้เรียกตัวเอง กับคำว่า “อิหร่าน” ที่พวกเปอร์เซียโบราณเรียกตนเองก็เป็นคำมาจากรากศัพท์เดียวกัน

วรรณคดีโบราณของอิหร่านคือคัมภีร์อเวสตะ กับคัมภีร์คฤเวทของอินเดียมีความเกี่ยวข้องกันใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาของทั้ง 2 คัมภีร์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน      ภาษาในคัมภีร์อเวสตะรูปที่เก่าที่สุดกับภาษาในคัมภีร์ฤคเวท        ทั้งในด้านรูปศัพท์และการสร้างประโยค   ชี้ให้เห็นได้ชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด   ศัพท์จำนวนมากที่ใช้ในคัมภีร์ทั้งสองเป็นศัพท์ที่มาจากรากเดียวกัน   แต่การนับถือเทพเจ้าของชน 2 พวกนี้เป็นไปคนละแนว           คือชาวอารยันสายอิหร่าน จะนับถืออสุระ เป็นเทพเจ้าฝ่ายดี      เทวะ เป็นเทพเจ้าฝ่ายชั่ว      ส่วนพวกที่อพยพเข้ามาอินเดีย ถือว่า เทวะเป็นฝ่ายดี อสระ หรืออหุระ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว   ฉะนั้นสงครามที่เกิดขึ้นบางทีอาจจะเกิดจากเผ่าอารยันสองพวกเองที่แย่งพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ก็ได้

พินิจฯ ๓

และยังมีบางส่วนจากตำนาน ของเผ่าอารยันกล่าวถึงพระอินทร์ว่าเป็นนจอมเทพฯฝ่ายเทวดาพระองค์ทรงเป็นเทพผู้มีสายฟ้าเป็นอาวุธ  ผู้พิชิตอมนุษย์แห่งความแห้งแล้งหรือความมืด    ปลดปล่อยสายน้ำให้เป็นอิสระ    และให้แสงสว่างแก่ฟ้าและดิน ทรงผู้ประทานฝนแก่ชาวอารยัน  เทวดาจึงหมายถึงผู้ทำให้ฝนตกด้วย หมายถึงพลังงานส่วนที่ทำให้เกิดฝนด้วย



และเคยอ่านตำนานการแห่นางแมวขอฝนทางภาคอิสานอ้างถึงว่า มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ ที่จะมาชำระสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อย่าง หมอกควัน  ละอองเขม่าน้ำมัน และสิ่งต่างๆที่ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ และผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน 
ทำให้อากาศสะอาดคือ "เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด อันเป็นสัญลักษณ์ของความสุข ของการเกิด

แม้แต่ทางภาคใต้เองเมือ่สมัยที่ผม (มหาปลี ) ยังเด็กมากๆก็ยังเคยได้เห็นพิธีกรรม ที่เรียกว่าขอฝนเทียมดาที่ อำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา ซึ่งนั้นจะเป็นพิธีการที่มีการปลูกปะรำพิธีบวงสรวงตรงข้างทางตรงมุมถนนทุกครั้ง  ทำด้วยใบมะพร้าวหรือใบตาลหรือใบอะไรมั่งไม่รู้เลือนลางเต็มทีจะเป็นโรงพิธีเตี้ยๆ แต่สรุปได้ว่าเป็นบทสวดประเภทหนึ่งเพื่ออ้อนวอนขอฝนจากเทวดา (ภายหลังจึงมีผู้บอกว่าคำว่า "เทียมดา"นั้นก็คือเทวดา แต่เป็นภาษาใต้โบราณ


แล้วเทวดาจริงๆมีไหม ใครเคยเจอบ้าง   เทวดาคืออะไรยังงงๆ     ที่เห็นตามผนังโบสถ์นั่นนะหรือ ?  ผมเองก็ไม่เคยเจอฟังแต่ผู้ใหญ่ที่นับถือเล่าให้ฟัง  อาจจะอารมย์ไม่ละเอียดพอเพราะไม่เคยได้ฌานสมาบัติ ในแวดวงศาสนา ต้องอ่านเรื่องเล่าจากพระราชพรมญาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านจะเล่าเรื่องเทวดาไว้เยอะสนุกดีลองไปหาอ่านดูจากเวปไซด์วัดท่าซุงครับ หลวงพ่อจรัล วัดอำพวาก็เคยเล่า หลวงพ่อฯหลายท่านก็เคยเล่าให้ฟัง พี่ชายตัวเองก็เคยเล่าให้ฟัง  และตามคำภีร์ต่างๆก็มีกล่าวถึงเทวดาไว้เช่น

ในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งถือว่ามาจากพระวจนะหรือคำพูดของพระเจ้านั้น มีการกล่าวถึงเทวดามากมาย อยู่ในฐานะ “ทูตสวรรค์” หรือ “นักบุญ” ซึ่งมีทั้งในเพศชายและและเพศหญิง

ในศาสนาฮินดูนั้นคำภีร์ฤคเวท ได้กล่าวถึงเรื่องราวของปวงเทพเทวาหรือเทวดานั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน และมีการกล่าวถึงอำนาจและอิทธิฤทธิ์ไว้มากมาย เพราะเป็นศาสนาพหุเทวนิยม ในศาสนาโวโรอัสก็ก็มีคำคำภีร์คัมภีร์อเวสตะ  กล่าวเรื่องเทวะไว้คล้ายๆกัน

ในพระไตรปิฎกที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางศาสนาพุทธนั้น ได้อธิบายถึงภพภูมิของเทวดาตามความเชื่อของศาสนาพุทธนั้นเชื่อว่ามีอยู่ 7 ชั้นคือ

ชั้น ๑. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา  ๔.ดุสิต  ๕. นิมมานรดี ๖.ปรินิมมิตวสวัตตี ซึ่งจะไม่กล่าวถึงที่นี่ ดูเรื่องเทวดาที่นี่  

ขยายความ

คัมภีร์อเวสตะ
คัมภีร์อเวสตะ เกิดก่อนพุทธกาลประมาณ ๔๐๐-๑๐๐๐ ปี มีโซโรอัสเตอร์เป็นศาสดา เป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาโซโรอัส ที่เกิดขึ้นที่ประเทศอิหร่านยุคก่อนที่อิหร่านจะหันไปนับถือศาสนาอิสลาม หรือรู้จักกันในนามของลัทธิบูชาไฟ มีความเชื่อแบบทวินิยม  สอนเรื่องการต่อสู้กันระหว่างพระเจ้าแห่งความดีกับพระเจ้าแห่งความชั่วร้าย ซึ่งในที่สุดพระเจ้าฝ่ายดีเป็นฝ่ายชนะในการต่อสู้นี้มนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกว่าจะเลือกเอาข้างฝ่ายใด

คำภีร์ฤคเวท
ในสมัยก่อนเมื่อหลายปีนานมาแล้ว  ผมอ่านหนังสือของพระสงฆ์ท่านหนึ่งของไทย ที่หลายคนรู้จักดี  คืออาจารย์พระพุทธาสฯ  งานเขียนของท่านมีเยอะมากและมีอ้างอิงจากหลายแหล่ง  หนึ่งในนั้นคือคำภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์   การไปค้นหาหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์เมื่อ 20 ปีมาแแล้วยากมากครับ (พศ.2532 ) ไม่เหมือนสมัยนี้เข้ากูเกิ้ลแล้วพิมม์ก็โอเคได้ังใจหวังครับ      ฤคเวท เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท   แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล   เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก    ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว   กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ   อำนาจแห่งเทวะ   และประวัติการสร้างโลกรวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง  ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ  ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว 

การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวด
ในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ 

ในฐานะที่เป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ชาวอารยันนับล้านคนนับถือคัมภีร์พระเวทว่าเป็นงานของพระเจ้า     และนับถือว่าเป็นทิพยวิชาที่ฤษียุคโบราณได้ค้นพบ   ฤษีผู้ค้นพบความรู้เหล่านั้น   เรียกว่า ฤษีแห่งพระเวท คัมภีร์พระเวทประกอบด้วยวิชาการทุกประเภทของฮินดู  เช่น แนวคิดทางศาสนา   แนวคิดทางสังคมและแนวคิดทางปรัชญา เป็นต้น วิถีชีวิตของชาวอินเดียมีพื้นฐานมาจากคัมภีร์พระเวท การศึกษาวัฒนธรรมอินเดียจึงต้องอาศัยความเข้าใจเรื่องพระเวท 


อ้างอิง :
บางส่วนจากคำภีร์อเวสตะ     บางส่วนจากคำภีร์ฤคเวท    สยามคเณศดอทคอม
           
                                                                       เทวอสูรสงคราม ๓ ( ปรัชญา)

ไม่มีความคิดเห็น: