กลียุค 5 may 2013
กลียุค (อ่านว่า กะ -ลี-ยุก) มาจากคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ยุคซึ่งมีชื่อว่ากลี (อ่านว่า กะ -ลี), ยุคที่โชคร้าย, ยุคที่มีแต่การทะเลาะวิวาท เป็นชื่อยุคที่คนอินเดียโบราณเชื่อว่าเป็นยุคสุดท้ายก่อนที่โลกและจักรวาลจะถูกทำลาย
กลียุค - กาลี -กาลกิณี - คำที่คล้ายๆ กัน ความหมายไปทางเดียวกัน คือจบสิ้นกาลหนึ่ง รอบหนึ่ง จักรหนึ่งหรือ ยุคหนึ่ง หรือทั้งหมื่นโลกธาตุ
กลียุค - สมัยหนึ่งไม่รู้เมื่อไหร่ และที่ไหน เมื่อโลกธาตุถูกขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วและแรง ทำให้บ้านเมืองเกิดสว่างไสวไร้กลางวันกลางคืนประดุจเมืองนรก และหรือสวรรค์ ผู้คนเก่งกล้า เจริญด้วยความรู้ มีเครื่องปัจจัยไทยทานมากมาย เครื่องมือสื่อสารยานพยนต์จักรกลสมบูรณ์ ล้ำยุค แต่มิอาจเจรจาพาทีให้เข้าใจกันได้ สุดท้ายก็ถูกความโลภโมโทสันครอบงำจิตวิญญาน การแบ่งปันกันไม่พอดีลงตัว ความขัดแย้ง และไฟโทสะก็เกิดลุกลามขึ้นทั่วแผ่นดิน ผู้หลักผู้ใหญ่อันเป็นที่เคารพยึดถือของบ้านเมือง ตั้งแต่ ชั้นพรหม เทวดา พระมหากษัตริย์ องคมนตรี เสนาอำมาตย์ นายกฯ รัฐมนตรี ทั้งฝ่ายพระศาสนจักร พระสงฆ์ อุสตาด โต๊ะอิหม่าม ฯ ถูกหยาม ถูกฆ่า ถูกด่าเยาะเย้ยหยัน ไปทั่วแผ่นดิน มิอาจพูด มิอาจเจรจา มิอาจดำเนินการใดๆให้เข้าใจออมชอมกันได้ สุดท้าย ก็ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ แบบโบราณ คือรบกัน ด้วยอาวุธ ยิง แทง ระเบิด เผาทำลาย ชีวิตและทรัพย์สิน จนพินาศสิ้น ช่างอนาดจริงหนอมนุษย์
ฟังเพลงกลียุค 2000 ขับร้องโดยคุณ จรัล ภักดีธนากุล หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น