ข้อความข้างล่างลอกมาเก็บเป็นหลักฐานโดย.. มหาปลี นอกวัด 30 พค. 2558
นำมาจาก คุณปิยชีพ วัชโรบล ๆนำมาจากจากบล็อค http://www.oknation.net/blog/Tip2/2010/12/17/entry-3
เมื่อวันที่ 28 พค. 2558 เวลา 22.50 น.
ส่วนเหตุการณ์ในอนาคตจะเป็นยังไงนั้น ถึงเวลาก็รู้เองครับ ถูกมากกว่าหรือผิดมากกว่า
“ 2563 ” กรุงเทพจมน้ำ!!!
Posted by ครูทิพย์ , ผู้อ่าน : 27016 , 08:50:56 น. หมวด : ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรุงเทพฯ เคยเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่มาหลายครั้ง คนที่สูงวัยหน่อยอาจนึกถึง เหตุการณ์เมื่อปี 2485 ที่น้ำท่วมนานกว่า3 เดือนในสถานที่และถนนสายสำคัญๆในกรุงเทพฯ เช่น บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
แต่ถ้าเด็กลงมาหน่อย ก็คงจะจำได้ กับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2526 และ 2538 และแม้กระทั่งเหตุการณ์หลังสุดเมื่อ 2549
ทว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือ ภายในปีพ.ศ.2563 ประวัติศาสตร์อาจจะต้องบันทึกกันใหม่อีกครั้ง
เพราะครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ท่วม แต่กรุงเทพฯจะจมอยู่ใต้น้ำไปเลย....
อีก 10 ปีกรุงเทพอยู่ใต้บาดาล
สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ “กรุงเทพมหานคร”
สอดคล้องกับโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับ สนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เพิ่งศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัย เล่าความเป็นมาว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2 ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย
เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย
ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่
“วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน..”
ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก”
คำว่า ”กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้” ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม “โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร” !! ดังนั้นลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว
“”เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00 เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ”"
เขาอธิบายว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป
โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี 2538 เพราะจากการคำนวณพบว่า ทุกๆ 25 ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี 2563) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน 25 ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ไม่ได้มีเพียงแค่กรณี เดียว
แต่ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี 2.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม. 3.ระดับ น้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.4.ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพ ื้นที่รองรับน้ำ
“สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเหตุการณ์ปี 2538 น้ำเหนือมาหนักมาก มันไหลมา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่กรุงเทพฯรับน้ำได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์เช่นปี 2538 อีกครั้งเมื่อน้ำมาสี่พันกว่าลูกบาศก์เมตรเขาจำเป็นต้องผลักน้ำออกไปทางซ้ายและทางขวา ก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหมายความว่าน้ำจะท่วมชนบทอย่างมโหฬาร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จะโดนหนักมาก แล้วมาทาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เขตหนองแขม และเขตลาดกระบัง กทม. ก็ไม่รอด”
สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯในปี 2563 จะหนักหนาสาหัสมาก ดร.เสรีบอกว่า ตัวการสำคัญ คือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะผังเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ว่างเปล่า ลดลงไปจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง
“แต่ก่อนผมจำได้ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของ กทม. 1,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณ 40% ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น และขณะนี้เรากำลังสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ รุกล้ำไปในพื้นที่ชุ่มน้ำมาก เช่น สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางระบายน้ำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงทะเลไปทางทุ่งตะวันออก บริเวณหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณนี้หมู่บ้านเกิดขึ้นเยอะมาก รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหา”
อาจารย์เสรีบอกว่า ภายในปี 2563 หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นและถ้ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ดำเนินการอะไร ไม่ได้สร้างคันดินที่จะกั้นน้ำไม่ให้ทะลุเข้ามา หรือการขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง หรือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติมน้ำจะท่วมกรุงเทพฯแน่นอน
เสียหายทันที 5 หมื่นล.
หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง เพราะการย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยา ลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด
หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรง แรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืนที่นักวิชาการหลายคนเห็นตรงกันก็คือ “ต้องสร้างเขื่อน”
“ดร.สมิทธ ธรรมสโรช” ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวเตือนว่า หากไม่เร่งทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างไม่ทันและความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯจะค่อย ๆ จมน้ำไปเรื่อย ๆ อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งอาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้
“ สาเหตุที่ออกมาระบุถึงการเกิดภาวะน้ำท่วมกทม.ภายใน 10 ปีนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนกแต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการป้องกันย่อมดีกว่า การแก้ไขอย่างแน่นอน เพราะหากเป็นเรื่องจริง ยังจะรอให้ฟ้า ฝน ช่วยอยู่อีกไหม ?”
ขณะที่ รศ.ดร.เสรี กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด
หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9 เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น
“โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าหากไม่ทำอะไรเลยไม่ถึง 10 ปีกรุงเทพฯจมน้ำแน่นอน และถ้าจมน้ำไม่ใช่แค่ 3-4 วันแต่จะเป็นเดือนถึงสองเดือนด้วยซ้ำ ซึ่งจะมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 50,000 ล้านบาท แต่ปีนี้คิดว่ากรุงเทพฯไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะเขื่อนดินที่อ่างทาง อยุทธา สิงหบุรี มันแตกหมดแล้ว น้ำเลยไหลเข้าทุ่ง คนกรุงเทพฯเลยรับอานิสงส์ เพราะปริมาณน้ำจะผ่านไหลเข้าทุ่งไปหมด”
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า สิ่งที่ตนเคยคาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยจะมีหิมะตก โดยเฉพาะทางบนภูเขาทางภาคเหนือ ไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย ขณะนี้ขาดเพียงความชื้นเท่านั้น ขณะที่พื้นที่กรุงเทพฯ ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในอนาคตกรุงเทพฯ จะอยู่ใต้น้ำทะเล รวมถึงจังหวัดอื่นๆ ด้วย จากนี้ไม่เกิน 10 ปี จะเริ่มเห็นอย่างชัดเจน ดังนั้น กทม.ควรเตรียมความพร้อมในการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสถานที่ที่ปลอดภัยและมีความเหมาะสมที่สุด คือ อีสานใต้ เพราะสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 100 เมตร และไม่มีรอยร้าวในแผ่นดิน
ขณะที่จังหวัดทางภาคเหนือมีรอยร้าวของเปลือกโลกที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ หากไม่ย้ายควรวางแผนสร้างเขื่อนในอ่าวไทย ความสูง 30 เมตร ตั้งแต่สัตหีบ จ.ชลบุรี ถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสูบน้ำออกไปข้างนอก จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้ามา ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญและเร่งศึกษาโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการน้ำเค็มจะเริ่มเข้ามาในพื้นที่ กทม. และเมื่อน้ำเค็มเข้าสู่ระบบประปาประชาชนจำนวนมากจะได้รับความเดือดร้อน
กทม.ชี้ 10 ปีต้องเลือก จะย้ายเมืองหรือสร้างเขื่อน
อย่างไรก็ดีต่อท่าทีของสำนักงานกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงนั้น ล่าสุด“นายพรเทพ เตชะไพบูลย์” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ออกมายอมรับแล้วว่า เรื่องนี้เป็นความจริง !
“ทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับเรา ก็อยู่ที่ว่า มันจะเป็น10 ปีกว่ามันจะจมหรือมากกว่านี้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพชัดเจน เพราะเราดูดน้ำออกมาได้ตลอด และเรายังมี คิงไซส์หรือ แนวกันน้ำ ระดับ 2.50 เมตรรองรับอยู่” พรเทพ บอก
รายงานจากกทม.ระบุว่า ปัจจุบันที่ดินครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ปริ่มน้ำ ซึ่งพรเทพ ระบุว่า สาเหตุหลักของเรื่องนี้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก นั่นคือ การทรุดตัวลงของดินในกรุงเทพฯปีละ 2 ซม.เนื่องจากการดูดน้ำบาดาลไปใช้ไม่ต่ำกว่าพันบ่อต่อวัน และระดับน้าทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละ 1 ซม. ทั้งหมดนี้ก็รวมเป็น 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นอัตราปกติ
แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือ ข้อมูลที่รองผู้ว่ากทม.ที่ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน และ แก้ปัญหาน้ำท่วมเปิดเผยมาตรงๆว่า ความเชื่อที่ว่า แนวกันน้ำจะป้องกันน้ำไหลบ่าจะสามารถรองรับไปได้อีก 20 ปีนั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว
“จากภาวะโลกร้อน ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ระดับน้ำเพิ่มมากขึ้น 40 % ยกตัวอย่าง เดิมที่เราคาดว่ากันว่า ฝนจะตกในเดือนนี้ 180 มิลลิเมตร แต่ความจริงตกถึง 210 มิลลิเมตร หรือ ทั้งปีน่าจะตกแค่ 1,400 มิลลิเมตร แต่วันนี้มันตก 1,800 มิลลิเมตร มันทำให้ผมเป็นห่วงแนวกั้นน้ำ อย่าว่า 20 ปีเลย แค่ 10 ปีจะรองรับถึงหรือเปล่า เพราะระดับน้ำขึ้นไปอยู่ที่ 2.20 เมตรแล้ว”
รองผู้ว่ากทม. ชี้ว่า ช่องโหว่ที่จะทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นนครใต้บาดาล ก็คือ “บางขุนเทียน” ซึ่งมีการกัดเซาะจากน้ำทะเลไปรวดเร็วเกินกว่าที่คาดคิดไว้
“คุณเชื่อไหม วันนี้น้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินไปกว่า 300 ตารางกม.แล้ว และเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเราพยายามจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การคืนสภาพป่าชายเลนแต่ก็ไม่ได้ผล”
พรเทพ บอกว่า ปัญหาใหญ่และอุปสรรคสำคัญที่เขาประสบในการสกัดกั้นการรุกคืบของน้ำทะเลจากอ่าวไทยก็คือ เอ็นจีโอและกลุ่มคนที่มีแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติ เขา เปิดเผยว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะหยุดการไหลบ่าจากน้ำทะเล ไม่ว่าจะเป็นการทำคิงไซส์ การสร้างเขื่อน หรือ วิธีอื่นๆ เพราะมองว่าจะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
...และวิธีเดียวที่เอ็นจีโอเหล่านี้เห็นด้วย ก็คือ การทิ้งวัสดุที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็น หิน ยาง หรือ เอาเสาไปปัก เพื่อทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอน ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของป่าชายเลน
“วิธีเหล่านี้ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล เพราะเรามาทำตั้งแต่ปี 2523 แต่ก็หยุดการเพิ่มของระดับน้ำไม่ได้ เพราะสู้ธรรมชาติไม่ไหว ถ้าเราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ก็ต้องย้ายเมืองหลวง เอามั๊ย หรือไม่ ก็สร้างเขื่อนมี 2 ทางเลือก ถ้าไม่ทำทุ่งครุ และกรุงเทพฯจะอยู่ใต้น้ำแน่นอน” เขาระบาย
รศ.ดร.เสรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้มุมมองถึงเรื่องนี้ว่า กรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียน ถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินจมหายไป 1 กิโลเมตร
ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ำเหนือที่ไหลทะลักให้ แยกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้
เช่นเดียวกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย( Asian Disaster Preparedness Center-ADPC ) กล่าวว่า ภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่กทม.นั้นตามรายงานการติดตามของศูนย์เอดีพีซีพบว่าจะมี 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ปริมาณน้ำทะเล น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นดิน ได้นานกว่าปกติ และกระแสลมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ กทม.นั้นถือว่าเป็นพื้นที่ต่ำ และขณะนี้พบว่าระดับความสูงของพื้นดินนั้นสูงเพียง 40 เซนติเมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ คลองเอ่อล้น เข้าท่วมพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น
แม้ว่า กทม.จะมีระบบระบายน้ำ ระบบแก้ปัญหาที่รองรับ แต่ก็จะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ที่ผ่านมามีสัญญาณเตือนแล้วคือ แผ่นดิน กทม.ในเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลม และคลื่นซัดแผ่นดินหายไป ซึ่งตามรายงานพบว่าระยะเวลา 1 ปี พื้นดินเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลม และถูกคลื่นกัดเซาะหายไปประมาณ 6-7 เมตรแล้ว
จับตาโปรเจ็คแสนล้าน สร้างเขื่อนยักษ์หยุดอุทกภัย
เมื่อเป็นเช่นนี้ การรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ “การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่”ป้องกันระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสภาวะโลกร้อนในอนาคต แต่จะสร้างเขื่อนรูปแบบใด และชนิดไหนนั้น
ดร.สมิทธ ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เสนอแนวคิดต่อเรื่องนี้ว่า การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นที่เก็บน้ำ สำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน หากทำเป็นเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด โดยระยะทางในการสร้างเขื่อนปิดอ่าวประมาณ 100-200 กิโลเมตร การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ
แน่นอนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ น้ำก็จะท่วม 1-2 เมตร ฉะนั้นวิธีการป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวขณะนี้คือ ต้องสร้างเขื่อนสูงสัก 5 เมตร เป็นคอนกรีต ทำแบบประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างให้หนา ข้างบนรถสามารถวิ่งได้ สร้างตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา สร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ก็อาจจะรักษากรุงเทพฯไม่ให้จมน้ำได้ แต่ก็ต้องเริ่มคิดเริ่มสร้างกันเดี๋ยวนี้
ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว
กระนั้นหากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมากและมีการก่อสร้างที่ลำบาก เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน
เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมา จากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร
“เป็นการช่วยระบายน้ำไม่ให้ทะลักเข้ากรุงเทพฯ เพราะพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้น ที่เศรษฐกิจ เนื่องจากสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมากเป็นหมื่นโรง หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นคนงานจะตกงานกันเป็นแสนคน พื้นที่ในกรุงเทพฯถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรมและ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้ และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย”
อีกทั้งเรือที่ต้องการจอดจะไม่สามารถกระทำได้ การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตั้งรับสามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัดได้ ตั้งแต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นอีก
“ถ้าไม่ทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างไม่ทันและความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯจะค่อย ๆ จมน้ำไปเรื่อย ๆ อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งอาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้”
ขณะที่ รศ.ดร.เสรี กรรมการภูมิศาสตร์โลก เสนอว่า รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาทางการเมือง
เขาระบุว่า ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9
เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น
ส่วนทางออก สำหรับน้ำเหนือ ต้องหาพื้นที่ให้น้ำอยู่ เป็นที่พักน้ำ ในบริเวณแถวภาคกลาง ไม่สามารถสร้างเขื่อน ระดับน้ำทะเล อาจจะต้องหาพื้นที่สร้างเขื่อนดิน เห็นประสบการณ์จากเนเธอร์แลนด์ ปลูกป่า เป็นลักษณะป้องกันต้องหา ทำคันดินยกสูงขึ้นมา 5 เมตร พื้นที่ไหนที่เหมาะก็ทำคัน ทำคันดินไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา ถ้าจะให้รถวิ่งได้ ประเด็นคันดินต้องกั้นน้ำทะเล พอเราถมคันดินแล้วต้องมีป่าชายเลน การออกแบบก็แล้วแต่ หลายวัตถุประสงค์ หลบเลี่ยงการจราจรที่แข็งแรง ทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณเป็นหมื่นล้านบาทขึ้น นี่ยังไม่ได้รวมค่าเวนคืน ค่าก่อสร้าง 80 กม. บางขุนเทียนเทียน สมุทรปราการ จนถึงสุมทรสงคราม
ดร.สมิทธ และนักวิชาการอีกหลายท่านต่างเห็นตรงกันและออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนหลายสิบล้านคน
“อย่าวางใจ ชะล่าใจ ต้องรอให้เกิดวิกฤติ ก่อนแล้วจึงคิดแก้ไข รัฐจะต้องมีนโยบายเป็นโครงการระดับชาติ มีการดำเนินการต่อเนื่องกันในหลายๆ รัฐบาล เพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 5-8 ปี ไม่ใช่รัฐบาลนี้เห็นชอบก็มีการดำเนินการ แต่พอมีรัฐบาลใหม่ก็หยุดชะงักลง อาจทำให้เกิดความเสียหายและไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ขึ้นมาการที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง” ดร.สมิทธ กล่าว
ต่อเรื่องนี้ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอุทกภัย ยอมรับว่า ประเทศไทยขาดความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำตลอดมา” เพราะในความเป็นจริงนั้นแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่างก็มีแผนแต่ไม่เคยนำมาเชื่อมโยงกันออกมาเป็นแผนรองรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
ในภาพใหญ่ของการแก้ไขปัญหาในระยะยาว อภิรักษ์ กล่าวว่าแผนระยะยาวต้องพิจารณาใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ 2.การทำเรื่องของโครงการแก้มลิง เพื่อรับสถานการณ์ในช่วงน้ำมาก 3.การดูแลและติดตามเรื่องของปัญหาโลกร้อน เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ ป่าต้นน้ำ และ 4.การเข้มงวดเรื่องของการวางผังเมือง
ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพฯ กรมทรัพยากรธรณีและธรรมชาติ กรมชลประทาน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมาสำรวจหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ เกี่ยวกับน้ำที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบบนมาตรการที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูกป่าชายเลนเพิ่ม การสร้างแนวกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ รวมถึงเรื่องการจัดระเบียบใหม่ของผังเมือง เนื่องจากที่ผ่านมามีการละเมิดกฎข้อห้ามของผังเมืองในจุดพื้นที่รับน้ำ จนทำให้ปิดกั้นเส้นทางน้ำไหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ
“ต่อไปนี้ทุกหน่วยงานต้องลงมาดูในภาพรวมทั้งหมดรวมกันเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับชาติไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น