เทวอสูรสงคราม

เทวอสูรสงคราม ๒

พินิจฯ  ๑

จะเห็นว่าแรกเริ่มตำนาน    เทวดาที่มาใหม่นั้นผิดชัดๆ ผิดแบบไม่น่าให้อภัยคือเลวมาก   เจ้าของบ้านอุตสาห์เลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดีแล้วยังเนรคุณ ถีบเจ้าของบ้านจนตกเรือน แล้วยึดบ้านเฉยเลยเป็นใครๆก็แค้น แค้นที่ต้องชำระ

แต่นี่เป็นเพียงการผูกเรื่องของนักปราชญ์    ว่าความแค้น    ความพยาบาทเกิดขึ้นได้เพราะเหตุนี้ เรื่องหนึงแหละ   และให้อารมย์นี้เป็นอารมย์ร้าย เรียกว่าอสูร  อารมย์โกรธ แค้น พยาบาท

เทวดานั้นก็รู้ว่าผิด แต่ก็ได้ฝึกตนเองต่อ ไม่ให้โกรธไม่ให้แค้น    มีแต่จิตเมตตาฯ สูงๆขึ้นไปๆ จนถึงชั้นพรหมเบื้องบน  นี่คืออารมย์ดีๆอีกด้านนึงที่ตรงข้าม 

ส่วนเรื่องรูปเรื่องภพ   รูปนามจริงๆนั้นเป็นยังไงก็ให้ท่านผู้ฝึกถึงฌานได้แล้วเล่าดีกว่า      ตรงนี้แค่คิดแค่บอกให้รู้ว่าเหตุมันเป็นเช่นนี้ จึงได้มีเป็นเทวดา ๒ พวกคือ สุระกับอสุระ




ส่วนที่ท่านอื่นๆเขียนไว้ในอดีต     ฝั่งตะวันตสรุปจากเรื่องเทวอสูรสงครามในบทที่ ๑   แนวคิดเรื่องเทวาสุรสงคราม จากอดีตตำนาน     เค้าโครงเรื่องจะมีรากฐานที่มาจากการต่อสู้กันระหว่างชนพื้นเมือง (ทราวิท / อสูร) กับพวกอารยันที่อพยพเข้ามาใหม่   (เนวาสิกเทวบุตร กับมฆะมาณพจุติ)  คือพวกพระพระอินทร์ เดิมทีน่าจะเป็นวีรบุรุษนักรบของชาวอารยัน   ต่อมาได้รับการยกย่องนับถือจนกลายเป็นเทพเจ้าไปในที่สุด

ส่วนพวกอสูรน่าจะเป็นตัวแทนของชนพื้นเมือง ที่อาศัยอยู่ในถิ่นของตนมาก่อน และเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามแล้วถูกเหยียดหยามให้เป็นพวกที่ไม่กล้าหรือขี้ขลาด (อสูร แปลว่าผู้ไม่กล้า) หรือเทพเจ้าฝ่ายชั่ว เป็นไปได้ว่า เมื่อเริ่มเรื่องการสู้รบกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์แล้ว ก็ได้รับการเล่าขานเป็นตำนานจนมีการปรุงแต่งให้กลายเป็นการรบกันระหว่างเทพฝ่ายดีกับเทพฝ่ายชั่ว  ดีชั่วก็แล้วแต่ใครอยู่ข้างไหน ข้างนั้นก็เป็นฝ่ายดี ฝ่ายตรงข้ามก็เป็นฝ่ายชั่ว 

* เรื่องนี้คนเขียนน่าจะหรือต้องเป็นคนฝั่งอารยัน  เพราะว่าตัวเองต้องเป็นฝ่ายดีฝ่ายถูก  อสูรนั้นไม่ดีจึงต้องเป็นฝั่งตรงข้าม

พินิจ ฯ ๒
แนวคิดความเชื่อเรื่องสงครามระหว่างเทพ กับอสูร ในสมัยก่อนพุทธกาล หากสืบย้อนกลับไป นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พวกอารยันและอิหร่านเป็นพวกเดียวกันและอพยพมาพร้อมกัน โดยที่พวกหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย อีกพวกหนึ่งแยกไปทางอิหร่าน จะเห็นได้จากภาษาของทั้งสองพวกซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก เช่นคำว่า “อารยะ” หรือ “อารยัน” ที่พวกตั้งถิ่นฐานในอินเดียใช้เรียกตัวเอง กับคำว่า “อิหร่าน” ที่พวกเปอร์เซียโบราณเรียกตนเองก็เป็นคำมาจากรากศัพท์เดียวกัน

วรรณคดีโบราณของอิหร่านคือคัมภีร์อเวสตะ กับคัมภีร์คฤเวทของอินเดียมีความเกี่ยวข้องกันใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาของทั้ง 2 คัมภีร์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน      ภาษาในคัมภีร์อเวสตะรูปที่เก่าที่สุดกับภาษาในคัมภีร์ฤคเวท        ทั้งในด้านรูปศัพท์และการสร้างประโยค   ชี้ให้เห็นได้ชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด   ศัพท์จำนวนมากที่ใช้ในคัมภีร์ทั้งสองเป็นศัพท์ที่มาจากรากเดียวกัน   แต่การนับถือเทพเจ้าของชน 2 พวกนี้เป็นไปคนละแนว           คือชาวอารยันสายอิหร่าน จะนับถืออสุระ เป็นเทพเจ้าฝ่ายดี      เทวะ เป็นเทพเจ้าฝ่ายชั่ว      ส่วนพวกที่อพยพเข้ามาอินเดีย ถือว่า เทวะเป็นฝ่ายดี อสระ หรืออหุระ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว   ฉะนั้นสงครามที่เกิดขึ้นบางทีอาจจะเกิดจากเผ่าอารยันสองพวกเองที่แย่งพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ก็ได้

พินิจฯ ๓

และยังมีบางส่วนจากตำนาน ของเผ่าอารยันกล่าวถึงพระอินทร์ว่าเป็นนจอมเทพฯฝ่ายเทวดาพระองค์ทรงเป็นเทพผู้มีสายฟ้าเป็นอาวุธ  ผู้พิชิตอมนุษย์แห่งความแห้งแล้งหรือความมืด    ปลดปล่อยสายน้ำให้เป็นอิสระ    และให้แสงสว่างแก่ฟ้าและดิน ทรงผู้ประทานฝนแก่ชาวอารยัน  เทวดาจึงหมายถึงผู้ทำให้ฝนตกด้วย หมายถึงพลังงานส่วนที่ทำให้เกิดฝนด้วย



และเคยอ่านตำนานการแห่นางแมวขอฝนทางภาคอิสานอ้างถึงว่า มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ ที่จะมาชำระสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อย่าง หมอกควัน  ละอองเขม่าน้ำมัน และสิ่งต่างๆที่ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ และผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน 
ทำให้อากาศสะอาดคือ "เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด อันเป็นสัญลักษณ์ของความสุข ของการเกิด

แม้แต่ทางภาคใต้เองเมือ่สมัยที่ผม (มหาปลี ) ยังเด็กมากๆก็ยังเคยได้เห็นพิธีกรรม ที่เรียกว่าขอฝนเทียมดาที่ อำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา ซึ่งนั้นจะเป็นพิธีการที่มีการปลูกปะรำพิธีบวงสรวงตรงข้างทางตรงมุมถนนทุกครั้ง  ทำด้วยใบมะพร้าวหรือใบตาลหรือใบอะไรมั่งไม่รู้เลือนลางเต็มทีจะเป็นโรงพิธีเตี้ยๆ แต่สรุปได้ว่าเป็นบทสวดประเภทหนึ่งเพื่ออ้อนวอนขอฝนจากเทวดา (ภายหลังจึงมีผู้บอกว่าคำว่า "เทียมดา"นั้นก็คือเทวดา แต่เป็นภาษาใต้โบราณ


แล้วเทวดาจริงๆมีไหม ใครเคยเจอบ้าง   เทวดาคืออะไรยังงงๆ     ที่เห็นตามผนังโบสถ์นั่นนะหรือ ?  ผมเองก็ไม่เคยเจอฟังแต่ผู้ใหญ่ที่นับถือเล่าให้ฟัง  อาจจะอารมย์ไม่ละเอียดพอเพราะไม่เคยได้ฌานสมาบัติ ในแวดวงศาสนา ต้องอ่านเรื่องเล่าจากพระราชพรมญาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านจะเล่าเรื่องเทวดาไว้เยอะสนุกดีลองไปหาอ่านดูจากเวปไซด์วัดท่าซุงครับ หลวงพ่อจรัล วัดอำพวาก็เคยเล่า หลวงพ่อฯหลายท่านก็เคยเล่าให้ฟัง พี่ชายตัวเองก็เคยเล่าให้ฟัง  และตามคำภีร์ต่างๆก็มีกล่าวถึงเทวดาไว้เช่น

ในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งถือว่ามาจากพระวจนะหรือคำพูดของพระเจ้านั้น มีการกล่าวถึงเทวดามากมาย อยู่ในฐานะ “ทูตสวรรค์” หรือ “นักบุญ” ซึ่งมีทั้งในเพศชายและและเพศหญิง

ในศาสนาฮินดูนั้นคำภีร์ฤคเวท ได้กล่าวถึงเรื่องราวของปวงเทพเทวาหรือเทวดานั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน และมีการกล่าวถึงอำนาจและอิทธิฤทธิ์ไว้มากมาย เพราะเป็นศาสนาพหุเทวนิยม ในศาสนาโวโรอัสก็ก็มีคำคำภีร์คัมภีร์อเวสตะ  กล่าวเรื่องเทวะไว้คล้ายๆกัน

ในพระไตรปิฎกที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางศาสนาพุทธนั้น ได้อธิบายถึงภพภูมิของเทวดาตามความเชื่อของศาสนาพุทธนั้นเชื่อว่ามีอยู่ 7 ชั้นคือ

ชั้น ๑. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา  ๔.ดุสิต  ๕. นิมมานรดี ๖.ปรินิมมิตวสวัตตี ซึ่งจะไม่กล่าวถึงที่นี่ ดูเรื่องเทวดาที่นี่  

ขยายความ

คัมภีร์อเวสตะ
คัมภีร์อเวสตะ เกิดก่อนพุทธกาลประมาณ ๔๐๐-๑๐๐๐ ปี มีโซโรอัสเตอร์เป็นศาสดา เป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาโซโรอัส ที่เกิดขึ้นที่ประเทศอิหร่านยุคก่อนที่อิหร่านจะหันไปนับถือศาสนาอิสลาม หรือรู้จักกันในนามของลัทธิบูชาไฟ มีความเชื่อแบบทวินิยม  สอนเรื่องการต่อสู้กันระหว่างพระเจ้าแห่งความดีกับพระเจ้าแห่งความชั่วร้าย ซึ่งในที่สุดพระเจ้าฝ่ายดีเป็นฝ่ายชนะในการต่อสู้นี้มนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกว่าจะเลือกเอาข้างฝ่ายใด

คำภีร์ฤคเวท
ในสมัยก่อนเมื่อหลายปีนานมาแล้ว  ผมอ่านหนังสือของพระสงฆ์ท่านหนึ่งของไทย ที่หลายคนรู้จักดี  คืออาจารย์พระพุทธาสฯ  งานเขียนของท่านมีเยอะมากและมีอ้างอิงจากหลายแหล่ง  หนึ่งในนั้นคือคำภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์   การไปค้นหาหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์เมื่อ 20 ปีมาแแล้วยากมากครับ (พศ.2532 ) ไม่เหมือนสมัยนี้เข้ากูเกิ้ลแล้วพิมม์ก็โอเคได้ังใจหวังครับ      ฤคเวท เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท   แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล   เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก    ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว   กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ   อำนาจแห่งเทวะ   และประวัติการสร้างโลกรวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง  ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ  ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว 

การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวด
ในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ 

ในฐานะที่เป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ชาวอารยันนับล้านคนนับถือคัมภีร์พระเวทว่าเป็นงานของพระเจ้า     และนับถือว่าเป็นทิพยวิชาที่ฤษียุคโบราณได้ค้นพบ   ฤษีผู้ค้นพบความรู้เหล่านั้น   เรียกว่า ฤษีแห่งพระเวท คัมภีร์พระเวทประกอบด้วยวิชาการทุกประเภทของฮินดู  เช่น แนวคิดทางศาสนา   แนวคิดทางสังคมและแนวคิดทางปรัชญา เป็นต้น วิถีชีวิตของชาวอินเดียมีพื้นฐานมาจากคัมภีร์พระเวท การศึกษาวัฒนธรรมอินเดียจึงต้องอาศัยความเข้าใจเรื่องพระเวท 


อ้างอิง :
บางส่วนจากคำภีร์อเวสตะ     บางส่วนจากคำภีร์ฤคเวท    สยามคเณศดอทคอม
           
                                                                       เทวอสูรสงคราม ๓ ( ปรัชญา)

สงครามเทวดา

เทวอสูรสงคราม ๑
เทวอสูรสงคราม ที่นำมาร้อยเรียงและเขียนขึ้นมาใหม่นี้มีทั้งหมด ๕ ตอน   ได้แรงบันดาลใจมาจาก ความแตกแยกของคนในชาติ  เมื่อครั้งสมัยพันธมิตรและนปช.เกิดขึ้นใหม่ๆ  ว่าเหตุใดกันแน่ผู้คนจึงได้มีความคิดไปคนละทาง  ไม่สามารถจะพูดคุย  เจรจาตกลงอะไรกันได้  ใครถูกใครผิดไม่ขอพูดถึง   เห็นมีแต่ปรัชญาเทวดาและอสูร    เรื่องที่บรรพชนเขียนไว้เท่านั้นที่พอจะอธิบายปรากการณ์นี้ได้   ลองอ่านเล่นๆดูครับ ผมเรียบเรียง ตีความ ขยายความ  เพิ่มเติม ตัดออกตามความคิดตนเองถูกผิดประการใดถือเป็นเรื่องความเข้าใจของปัจเจกบุคคลครับ

เรื่องเทวดากับอสูร เป็นฉากหนึ่งของเรื่องโลกธาตุที่บูรพาจารย์ได้ผูกเรื่องราวเอาไว้ด้วยเจตนาซ่อนปริศนาธรรมแขวงเอาไว้  เป็น เรืองที่ทำให้ข้าพเจ้าหลงใหล ครุ่นคิดถึงปริศนาที่ซ่อนเร้น      กับเรื่องโลกธาตุพลังงานอัตตาระดับละเอียดอ่อน  เรื่องของพลังงาน สสาร ไฟฟ้า อุตตุ หยินหยาง โหราศาสตร์ ฯลฯ ร้อยเรียงเรื่องราวแทนด้วยสงคราม จากภาคสวรรค์และโลกมนุษย์
   
บทที่ ๑ เรื่องเดิมตามตำนาน และคำภีร์



ในยุคพระเวท สมัยก่อนพุทธกาล ท้าวความตามคำภีร์เก่าแก่ ของชนเผ่าอารยัน คือคัมภีร์อเวสตะ ของอิหร่าน กับคัมภีร์คฤเวทของอินเดียได้กล่าวถึงการทำสงครามระหว่าง เทวดากับอสูร ไว้คล้ายๆ กัน แต่ค้นหาอ่านเรื่องราวตามตำนานทางฝ่ายอิหร่านแทบไม่ได้เลย

ประเทศไทยซึ่งได้รับอิทธิพลทางอินเดีย เป็นหลัก จึงมีตำนานตามฝ่ายอารยธรรมอินเดียเป็นส่วยใหญ่ โดยตามตำนานกล่าวไว้แต่เดิมว่า   มีเทวดาพวกหนึ่ง เรียกว่า เนวาสิกเทวบุตร (เทวบุตรผุ้อยู่ประจำ) อาศัยอยู่บนบนยอดเขาสุเมรุ เรียกว่า เทวโลก   มีท้าวเวปจิตติเป็นหัวหน้า อาศัยอยู่ด้วยความเพลิดเพลินในกามคุณ ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สำผัส มานานแสนนาน

กาลต่อมา ณ ที่ดินแดนมนุษย์โลก ได้มีมาณพนาม “มฆะมาณพ” เป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่ อจลคามในอาณาจักร มคธ ได้เป็นผู้บำเพ็ญ วัตตบท ๗ ประการ **กับภรรยา ๔ คน ได้ชักชวนเพื่อนอีก ๓๒ คน ร่วมกันสร้างกุศลกรรมต่างๆ ครั้นตายลง มฆะมาณพกับพวกเพื่อน ๓๒ คน และภรรยา ๓ คน (ขาดนางสุชาดา) ได้ไปเกิดในเทวโลกบนยอดเขาสุเมรุ ที่พวกเนวาสิกเทวบุตรอยู่

เนวาสิกเทวบุตร เห็นมีเทวดามาใหม่จึงได้จัดเลี้ยงต้อนรับฉลองเหล่าเทพเทวดามาใหม่กันแบบเต็มที่ และที่ขาดไม่ได้ในงานเลี้ยงก็คือน้ำคันธปานะ หรือหากคิดกับสังคมคนในโลกมนุษย์ก็คงเป็นสุราชั้นดีนั่นเอง และก็บอกกล่่าวว่าจะยินดีแบ่งเทพนครให้ไปครองกึ่งหนึ่ง  เมื่อเทพบุตรเจ้าถิ่นพร้อมกับบริวารของตน ตกแต่งน้ำคันธบานให้อาคันตุกะเทพบุตรแล้ว พวกตนก็ดื่มกินกันอย่างไม่ยั้งสนุกสนานกันเต็มที่


แต่เทวดาที่มาใหม่ต้องการครองเทพนครทั้งหมด จึงนัดแนะบริวารของตนเองไว้ก่อนแล้วว่า ไม่ให้ดื่มน้ำคันธปานะหรือน้ำเมาของสวรรค์จนเมามาย แค่จิบๆให้พอพวกเขารู้ว่าดื่มด้วยแล้วก็พอ แต่ให้ทำทีเหมือนหนึ่งว่าดื่มและเมาเต็มที่จริง ๆ เมื่อพวกเนวาสิกเทว  ดื่มน้ำคันธปานะจนมึนเมามายสนุกสนานเฮฮากันจนไร้สติหลับไหลแล้ว พวกเทวดาใหม่จึงช่วยกันจับท้าวเนวาสิกเทวบุตร และบริวาร เหวี่ยงลงไปในสีทันดรมหาสมุทรที่เชิงเขา เขาสุเมรุ

แต่ด้วยบุญญานุภาพของพวกเนวาสิกเทวบุตรที่เคยสร้างสมมา จึงดลบันดาลให้มีอสูรภิภพเกิดขึ้น ณ เบื้องล่างเขาพระสุเมรุ เป็นภูเขาสามยอดชื่อตรีกูฏมหาบรรพต เป็นเทพนครที่สวยสดงดงาม กว้างใหญ่รุ่งเรืองคล้ายกับดาวดึงส์พิภพทุกประการ   นครแห่งนี้นี้จะมีนํ้าล้อมรอบกำแพงเมืองอยู่เสมอมิได้ขาด จนพวกเนวาสิกเทว ไม่รู้ตัวเองเลยว่าตัวเองไม่ได้อยู่ที่วิมานเดิมบนยอดเขาสุเมรุ จนกระทั่งถึงฤดูที่ดอกไม้บาน เมื่อท้าวเนวาสิกเทว ได้มาเดินชมดอกไม้ประจำเมืองออกดอกแล้ว  สังเกตุเห็นดอกไม้ไม่เหมือนกับดอกปาริชาติในเมืองสวรรค์   จนท้าวเนวาสิกทวจึงรู้ได้ว่าตนโดนเทวบุตรใหม่หักหลังเสียแล้ว แค้นนี้จึงได้ใหญ่หลวงนัก รอวันชำระคืนเท่านั้น ต่อมาต้นไม้ในเมืองอสูรนี้ ได้ชื่อว่า จิตตปาลี (แปลว่าต้นแคฝอย) และถูกบัญญัติเป็นต้นไม้ประจำพิภพของอสูรตลอดมา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาดินแดนแห่งนี้จึงได้ชื่ออสูรพิภพ กว้างขวางถึง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ใต้เขาพระสุเมร สำหรับความเป็นอยู่ในอสูรพิภพนี้ พวกอสูรมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับทวยเทพทั้งหลาย คือ เสวยสุขอันเป็นทิพย์ทุกอย่าง มีแต่ความสดชื่นรื่นเริงใจ มิต้องลำบากยากเข็ญ เหมือนพวกอสุรกายหรือยักษ์ทั่วๆ ไป เป็นเพราะอำนาจกุศลกรรมที่เหล่าอสูรได้ทำไว้แต่ปางก่อน   และจากผลอันเกิดจากการดื่มน้ำเมาครั้งนั้น จอมเทพได้สั่งสอนบริวารว่า “ชาวเราทั้งหลาย แต่นี้ต่อไปพวกเราอย่าได้ดื่มนํ้าคันธบานที่มีฤทธิ์ร้ายอีกเลย เพราะการดื่มนํ้าคันธบานนี่เอง พวกเราจึงต้องได้รับความอัปยศอดสูใจในครั้งนี้ยิ่งนัก” จากนั้นต่างพร้อมใจงดเว้นการดื่มนํ้าคันธบานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


ส่วนเทวโลกเดิมที่อยู่บนยอดเขาสุเมรุ ก็กลายเป็น สุทัศนเทพนคร โดยมฆะมาณพได้เป็นจอม เทวดา  ต่อมาเรียพระอินทร์ คือท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่ของเทวดา        ส่วนนายช่างของ มฆะมาณพไปเกิดเป็น วิสสุกรรมเทวบุตร นายช่างเทวดา  ภรรยา ๓ คน คือ นางสุธัมมา นางสุนันทา นางสุจิตรา ก็ไปเกิดเป็นมเหสีของพระอินทร์    มีวิมาน มีอุทยาน มีสระโบกขรณี มีต้นปาริฉัตร (คล้ายต้นทองหลาง) มีเวชยันต์ปราสาท เวชยันต์ราชรถ และอื่นๆ เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของ ท้าวสักกะกับมเหสีและเทวดา ๓๒ องค์ ซึ่งสร้างกุศลร่วมกันมา ตั้งแต่นั้น สวรรค์ชั้นนี้จึงมีนามว่า ดาวดึงส์เทพนคร (นครของเทวดา ๓๒ องค์) ท่านกล่าวว่า เทพนครกับอสูรนครนั้น มี สมบัติเท่าเทียมเสมอกัน

ปาริชาติบานที่สวรรค์ดาวดึงส์ (สมมุติ )

ในอสูรพิภพมีการแบ่งเขตปกครองเป็นเขตเหมือนชาวสวรรค์ ได้แก่ ทางด้านทิศตะวันออก มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ท่านท้าวสัมพรอสูร  ทรงเป็นองค์อธิบดีปกครอง แล้วทรงแต่งตั้งให้ไพจิตตาสูรเป็นองค์อุปราช ทางด้านทิศใต้ ท้าวอสัพพราสูรเป็นองค์อธิบดี มีท้าวสุลิอสูรเป็นองค์อุปราช ด้านทิศตะวันตก มีท้าวเวลาสูรเป็นองค์อธิบดี มีท้าวปริกาสูรเป็นองค์อุปราช  และด้านทิศเหนือ ท้าวพรหมทัตตาสูรเป็นองค์อธิบดี มีท้าวอสุรินทราหูเป็นองค์อุปราช


ท้าวสัมพรอสูรทรงเป็นใหญ่ในอสูรพิภพ   บริบูรณ์ด้วยอิสริยยศเช่นเดียวกับพระอินทร์บนดาวดึงส์พิภพทุกอย่าง    เมื่อใดก็ตามที่พวกอสูรเห็นต้นแคฝอยออกดอกบานสะพรั่ง เหล่าอสูรก็จะหวนระลึกนึกถึงความหลัง เมื่อครั้งที่ยังอยู่บนเทวนครดาวดึงส์ ซึ่งมีต้นปาริฉัตรเป็นไม้ประจำเทพนคร และทุกครั้งที่ย้อนนึกถึงความหลัง   เหล่าอสูรก็รู้สึกโกรธเคืองแค้นต่อเหล่าทวยเทพในดาวดึงส์พิภพ จึงพากันชักชวนยกทัพขึ้นไปทำสงครามกับพระอินทร์ บนเทวโลกอยู่ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์

สงครามระหว่างเทวดากับอสูรรบกันนั้น ปรากฏว่า ฝ่ายอสูรเป็นฝ่ายปราชัยมากกว่ามีชัย เมื่อท้าวสัมพรอสูรผู้เป็นใหญ่ หนีมาพบบรรณศาลาของโยคีฤๅษีสิทธาทั้งหลาย ก็เข้าใจเอาเองว่า องค์อินทร์คงมีฤๅษีเหล่านี้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษา ทำให้ฝ่ายตนพ่ายแพ้ปราชัยอยู่เสมอ คิดเช่นนั้นแล้ว จอมอสูรก็สั่งการบริวารให้รื้อบรรณศาลาของฤๅษี เท่านั้นยังไม่พอ จอมอสูรยังให้บริวารทุบต่อยหม้อนํ้าและทำลายบริขารของฤๅษี

ฤๅษีทั้งหลายได้เหาะไปปรับความเข้าใจกับจอมอสูรว่า “อาตมภาพทั้งปวง มิได้เกี่ยวข้องในการรบนี้ ขออย่าให้เราต้องลำบากเลย ขอบพิตรจงให้อภัยเสียเถิด” สัมพรอสูรได้ฟังแล้ว ก็ไม่พอใจ จึงกล่าวปรักปรำว่า “พวกท่านพอใจที่จะคบหากับพระอินทร์ซึ่งเป็นผู้ผิด แล้วกลับมาขออภัยต่อข้า  เราไม่ยอมให้อภัยพวกท่าน และยังคิดที่จะเบียดเบียนพวกท่าน ให้ได้รับความลำบากอีกด้วย”

เหล่าฤๅษีเห็นว่าจอมอสูรยังมีความโกรธ ไม่ยอมสงบศึกอย่างสันติวิธี  จึงกล่าวตักเตือนว่า “ดูก่อนอสูรผู้ใจบาป เราทั้งปวงนี้มีความประสงค์จะขออภัย ไยท่านกลับให้ภัยแก่เราเสียเล่า เราใคร่จะขอรับแต่อภัยอย่างเดียว  เมื่อท่านมาให้ภัยอย่างนี้ เรามิรับดอก ภัยนั้นจงตกอยู่กับตัวท่านเองเถิด สัมพรอสูรเอ๋ย ธรรมดาว่า พืชทั้งปวงที่บุคคลหว่านลงไป คราวเมื่อจะได้ผล ก็ให้ผลไม่ผิดกับชนิดพืชเลย ฉันใดก็ดี บุคคลทำการกุศล ก็จักพลันได้ซึ่งผลแห่งกุศลนั้นอย่างแน่นอน แต่สำหรับบุคคลบาปหยาบช้า ก็อย่าหมายเลยว่าจะไม่ได้รับผลแห่งความชั่ว ตัวท่านให้ภัยแก่เหล่าอาตมภาพ ท่านก็จักได้รับภัยในไม่ช้านี้ ฉันนั้น”

จากนั้นเหล่าฤๅษีต่างพากันเหาะกลับอาศรมตามเดิม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพรอสูรก็ไม่เป็นอันจะกินจะนอนเลย มีแต่หวาดเสียวสะดุ้งจิตหวาดหวั่นอยู่เป็นนิตย์ เฝ้าแต่คิดกลัวภัยที่ดาบสกล่าวติเตียนเอาไว้ เมื่อจะเอนหลังลงสู่ที่นอนในยามราตรี ก็มีอันให้เห็นศัตรูมาแวดล้อมกลุ้มรุม และจะเอาหอกหลาวทิ่มแทง ทำให้ต้องหวาดผวาลุกขึ้นมาทันที

ด้วยเหตุนี้ หมู่อสูรต่างพากันแตกตื่นเป็นห่วง และมาเยี่ยมเยียนไต่ถามถึงอาการมิได้ขาด เมื่อถูกถามเช่นนี้ สัมพรอสูรก็มิกล้าเล่าความจริง เกรงว่าจะได้รับความอับอาย จึงปกปิดไม่บอกความจริงใดๆ ครั้นเวลานอนหลับ นิมิตร้ายนั้นก็มาปรากฏให้เห็นอีก ทำเอาจอมอสูรเป็นไข้ใจ กลายเป็นเทพอ่อนแอทั้งกายและใจ มีจิตหวาดหวั่นตกใจกลัวอยู่เป็นนิตย์ จึงได้รับขนานนามใหม่ว่า ท้าวเวปจิตติ หมายถึงจอมอสูรผู้มีจิตหวาดหวั่น



นี่ก็เป็นประวัติการอุบัติขึ้นของ เทวและอสูรพิภพ ของนักปราชญ์สมัยโบราณ ท่านได้รจนาไว้เพื่อที่จะบอกเรื่องราวอันใดแก่พวกเรารุ่นหลัง ก็แล้วแต่ภมิปัญญาของลูกหลานจะตีความเอา สำหรับผมแล้ว เรื่องราวขอองนักปราชญ์โบราณผมจะมองเป็นเรื่องอุปมาอุปมัย ตีความไปตามเรื่องโลกธาตุ อุตุ เรื่องไฟฟ้า หยินหยาง หรือแล้วแต่เรื่องอันใดก็ได้ที่ผมเข้าใจ เพราะยังมิได้บรรลุธรรมฌานทัศนะอันประณีต ผิดถูกประการใดก็ขึ้นอยู่กับภมิรู้ภูมิธรรมของผู้อ่านเช่นกันครับ


** วัตตบท ๗ ประการ คือ (คุณความดียุคแรกที่ทำให้ไปจุติเป็นเทวดา)


1. เลี้ยงดูและมีความเคารพในพ่อแม่ 

2. เคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่  
3. กล่าววาจาสุภาพอ่อนหวาน
4. ไม่กล่าวคำส่อเสียด กล่าวแต่วาจาสมานสามัคคี     
5. ชอบเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติตนเป็นคนตระหนี่
6. มีความสัตย์ กล่าวแต่คำที่เป็นจริง     
7. ระงับความโกรธด้วยขันติธรรม



เครดิต เวปไซด์ บ้านจอมยุทธ วัดธรรมกาย และฯ

                                                     เทวอสูรสงคราม ๒   พินิจฯ.เรื่องตามตำนาน