พระเสาร์เทพเจ้าแห่งความมั่นคง ไม่ผันแปร เปลี่ยนแปลงยาก สันโดษ สมถ นิ่งดุจเสือแม้จะเจ็บหนัก
ทฤษฎีส้นตีน เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นมาเล่นๆตามความคิดเห็นส่วนตัว เหมาะสำหรับคนบ้าเท่านั้น คนดีๆไม่ควรอ่าน หากอ่านไปแล้วรู้สึกขัดใจ ก็ไม่ควรคอมเม้นท์ใดๆจะได้ไม่ผิดใจกันครับ
พระอิศวรชุบมาจากเสือ 10 ตัว จึงมีกำลัง 10 เสร็จแล้วออกจากภูมิกลางวนรอบเขาพระสุเมร 1 รอบเพราะเป็นบาปเคราะห์ แล้วไปประจำอยู่ทิศหรดี หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศหรดีมาจากไนฤดีแปลว่าย่อยละลาย ในวิชาเลขโสฬส กล่าวว่าเกิดจากธาตุลมกรด ๓ บวก ธาตุไฟในเบ้า ๗ ได้เท่ากับ ๑๐
พระเสาร์มีชื่อเสียงด้านมหาอุจจ์ การอยู่ยงคงกระพัน การปลุกเสกเครื่องรางของขลังมักจะใช้ วันเสาร์ ๕ จะจริงหรือเท็จไม่รู้ เสาร์ห้่าคือวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันที่เพระเสาร์จะแข็งแกร่งที่สุด คือให้พระเสาร์เป็นกรอบ เป็นกำแพงล้อมรอบ หากพระเสาร์มั่นคงแข็งแรงแล้ว ยากที่ศัตรูจะเข้ามาทำอันตรายใดๆได้ ดุจมีกำแพงเพชร ๗ ชั้นเป็นเกราะกำบัง ศาสตรอาวุธใดๆ ทำอันตรายมิได้
หมอดูทั่วไปมักกลัวพระเสาร์ทับลัคน์ ผู้มาให้ตรวจดูชะตา ท่านว่ามักจะมีเคราะห์กรรมหนัก และอีกอย่างคือช่วงพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ท่านว่าจะมีเรื่องซวยทุกราย ชีวิตจะมีปัญหา ที่ท่านแต่งเป็นไว้เป็นเพลงก็มีหลายเพลง ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ทั้งทีหลักทักษาพระศุกร์เป็นศรีของพระเสาร์ แต่เป็นศัตรูกันทางธาตุ น้ำกินไฟ ศุกร์ก็เป็นน้ำเย็นจากนอกเข้าใน เสาร์เป็นไฟจากในออกนอก จากทิศตะวันตกเฉียงใต้ออกไปปะทะกันเป็นฝนฟ้าคะนอง
มิติดวงดาวเป็นดาวดวงใหญ่ อยู่รอบนอกของสุริยจักรวาล มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ศุกร์ก็เป็นน้ำเย็นจากนอกเข้าใน เสาร์เป็นไฟจากในออกนอก จากทิศตะวันตกเฉียงใต้ออกไปปะทะกันเป็นฝนฟ้าคะนอง
โหราศาสตร์ ถือเป็นธาตุไฟตัวเมีย ไฟสุมขอน รับไฟจากพระอาทิตย์ จากการไฟฟ้า จากแผงโซลาร์เซล สะสมไว้และคายความร้อนออกมา จ่ายกระแสไฟออกมาแนวนี้
ในวิชาการทำนาย ดวงดาวอยู่วงนอกสุดถือเป็นกรอบ เป็นรั้ว เป็นชั้นผิวหนังของร่างกาย พระเสาร์ให้คุณทำให้มีผิวพรรณดี พระเสาร์เสียเหี่ยวย่นง่าย แพ้เชื้อโรคภายนอกได้ง่าย ในเรือนชะตาหมายถึงการทำงาน พระเสาร์ดีจะมีการงานที่มั่นคง
ทักษา
ทักษาคือการวนขวาของพระเคราะห์ทั้ง ๘ เข้าไปในจักรราศี รอบละ ๑๒ ราศี จะหมุนวันละกี่รอบก็หมุนไป แต่หมุนตามโลกก็ได้วันละหนึ่งรอบหรือ ๘ ยามอัฐกาลคูณสอง เท่ากับ ๑๖ ยาม
พระเสาร์เป็นบริวาร ส่วนตนเป็นคนสมถ หรือสันโดษ มีมิตรสหาย บริวารทั้งหลายเป็นประชาชนทั่วไป หลากหลายอาขีพ ทั้งผู้ใช้แรงงาน แม้ค้าตามตลาดนัด เป็นคนแข็งแรง หนักแน่น ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง
พระเสาร์เป็นอายุของพระพุธ ต้องนับ ๑ หรือสิ่งที่ต้องกินก่อน ตามหลักกาลธาตุ ไฟกินดินๆกินลมๆกินน้ำๆกินไฟ คือการคิดอีกครั้งให้รอบคอบ วางกรอบขอบเขตุให้ชัดเจน แยกตัวเองมาพิจรณาคนเดียว หรือคนที่ไว้ใจได้จริงๆเท่านั้น จะใช้แรงงานเท่าไหร่ ทุนเท่าไหร่
เป็นเดชของพระอังคาร อังคารธาตุลม เสาร์ธาตุไฟทรหด เติมไฟให้ลมแรง ส่งเสริมกันดี สู้ได้จะกี่ครั้งก็เถอะสู้ได้ยาว เป็นนักมวยก็ชกไม่มีหมดแรง เป็นงานอื่นก็สู้ไม่ถอย ล้มแล้วลุก
เป็นศรีของพระจันทร์ธาตุดินเก่า ผู้มีจริตมายา ผู้ประสานงาน ผู้ติดต่อ ได้รับการอุ่นกระตุ้นให้ตื่นตัวแอคทืฟอยู่เสมอ ทำให้มีความรอบคอบมั่นคงตามคุณลักษณะพระเสาร์ แม้จะมีอุปสรรค โดนเล่เหลี่ยม โดนแกล้งก็ไม่ล้มไม่ท้อ ทำให้พระจันทร์ได้พบกับประชาชนทั่วไปมากมาย หลายชั้น ติดต่อไปได้ทั่วสารทิศครอบคลุม
เป็นมูลขอประอาทิตย์ มูลคือธาตุคู่ ธาตุเดียวกัน แลกเปลี่ยนพลังงานสสารกัน เป็นเพศตรงข้าม เป็นที่อาศัย เพื่อไปต่อ เพื่อให้ครบวงจร ความร้อนความอบอุ่นน พลังงาน ไปฝากไว้ที่พระเสาร์ ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อพระอาทิตย์ไม่อยู่ หรือมีภารกิจสถานที่อื่น
อุตสาหะของพระศุกร อุตสาหะ คือต้องเพียรกระทำสม่ำเสมอ คงเป็นความลำบากน่าดู เพราะพระศุกร์บ้าของใหม่ หลงชอบยินดี โน่นนี่มากมาย แล้วไม่ให้เลิกราไม่ให้ลืมเลือนเลิกรา เข้าตำรา รักไม่ให้เบื่อหน่ายไม่ให้ลืม น่าจะเป็นโทษทุกข์ตรงนี้ ตำนานพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
เป็นมนตรีของพระราหู พ่อค้า ผู้เล่นแร่แปรธาตุ แปลงสาร แปลงธาตุ ผูกบ่วง (กฏระเบียบ) มนตรีคือผู้ใหญ่ ผู้เลี่ยงดู ผูดูแล ผู้ให้การสนับสนุน อุดหนุน ทั้งช่วยซื้อของ ติดตามผลงาน ผู้มาชมการแสดง
เป็นกาลกิณีของพระพฤหัสบ่ดี กาลกิณีคือสิ่งที่คนทั่วไปถูกบอกมาให้ดูน่ากลัว ซึ่งก็น่ากลัวจริงถ้าไม่รู้วิธีปฏิบัติ ในชีวิตปกติก็ไม่ควรให้ตัวเองอยู่ในภาวกาลกิณี เว้นแต่ตอนเสร็จภาระกิจ
กาลกิณีของพระพฤหัสบ่ดี ของครูอาจารย์ ถึงท่านฤาษี อยู่ดีๆก็เครียด ก็คิดมาก ก็เก็บสะสมกักตุน แบบนี้ไม่ได้ผิดหลักฤาษี เริ่มถึงก็จบตายเลย เป็นครูเป็นอาจารย์ จะเครียดทำเป้นจริงจังเลยไม่ได้ ดุเลยไม่ได้ เอาไว้ทีหลัง สอนก่อน ใช้มนตรีให้ครบก่อนแล้วค่อยทำ มนตรีคือพระพุธ คือคิดให้ดีๆ สอบถามผู้รู้ดี เอาตามหลักวิชา เอาจากเหตุการณ์จริง แล้วจึงให้จบที่พระเสาร์
Back to ทฤษฎีส้นตีนตอนที่ 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น